สธ.เผยคนไทยลาโลกด้วยมะเร็งมากเป็นอับดับหนึ่ง ปีละกว่า 60,000 คนติดต่อกันมานานกว่า 10 ปี นพ.ประดิษฐ์ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข เปิดเผยว่า คนไทยตายด้วยโรคมะเร็งติดต่อกันมากกว่า 10 ปี โดยปีละประมาณ 60,000 คน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยมีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ สาเหตุการตายอันดับหนึ่งในนั้นคืออายุที่เพิ่มขึ้น ความเสี่ยงของโรคจะเพิ่มขึ้นด้วย โดยมะเร็งเป็นโรคที่มีระยะเวลาการก่อโรคยาวนาน ใช้เวลาหลายปีกว่าจะปรากฎอาการผิดปกติ ผู้ที่เป็นส่วนใหญ่มักจะไม่รู้ตัว
อย่างไรก็ตามปัจจุบันคนไทยมีอายุยืนยาวขึ้น ระบบควบคุมโรคติดต่อดีขึ้น ขณะเดียวกันมีการควบคุมอัตราการตายของทารกแรกเกิดและเด็กลดลง ส่งผลให้โครงสร้างประชากรเปลี่ยนแปลงและกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ จึงคาดการณ์ว่า ในอนาคตจะพบผู้ป่วยโรคมะเร็งมากขึ้น
รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า สธ.พยายามให้ความรู้ประชาชนเพื่อลดความเสี่ยงโรคมะเร็งทั้งหญิงและชายให้ครอบคลุมทั้งการตรวจคัดกรองและเพิ่มการตรวจสุขภาพประจำปี ซึ่งผู้ที่ไม่เคยตรวจก็มีโอกาสเป็นได้ การตรวจสุขภาพจึงทำให้รู้สถานะสุขภาพของตนเองเพื่อเฝ้าระวังความผิดปกติและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดความเสี่ยง
นอกจากนี้ สธ.ได้จัดทำคำแนะนำเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งโดยใช้สูตรปฏิบัติตัว 5 ทำ 5 ไม่ ห่างไกลมะเร็ง
ด้าน นพ.ธีรวุฒิ คูหะเปรมะ ผอ.สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าวว่า จากข้อมูลทะเบียนมะเร็งปี 2552 มีผู้ป่วย 102,791 คน ชาย-หญิง พอๆกัน มะเร็งที่พบบ่อยมากในผู้ชายได้แก่ มะเร็งตับ ส่วนในผู้หญิงที่พบมากอันดับหนึ่งได้แก่มะเร็งเต้านม 10,193 คน
สำหรับสัญญาณอันตรายของโรคมะเร็งมี 7 ประการ ได้แก่
1. ระบบขับถ่ายผิดปกติเช่น ถ่ายเป็นก้อนแข็ง ท้องผูกนานหลายวัน
2. เป็นแผลเรื้อรังรักษาไม่หาย
3. ร่างกายมีก้อนมีตู่มขึ้น
4. กลืนกินอาหารลำบาก
5. มีเลือดออกที่ทวารหนักหรือช่องคลอด
6. ไฝ หูด มีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ
7. ไอเรื้อรังเสียงแหบ หากพบความผิดปกติดังกลาวควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจหามะเร็ง
ที่มา : หนังสือพิมพ์ M2F
|