วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แจ้งการให้บริการเดือน สิงหาคม 2555


16  สิงหาคม 2555
รับวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็ก
เวลา 08.30 - 12.00 น.





17 สิงหาคม 2555

รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ในกลุ่ม

                  ผู้ที่มีน้ำหนัก 100 กิโลกรัม
                 
                                   ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
                                             
                                   ผู้สูงอายุ ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป




21 สิงหาคม  2555 ตรวจคัดกรองเบาหวาน หมู่ 7 , 13 และหมู่ 15
23 สิงหาคม  2555 ตรวจคัดกรองเบาหวาน หมู่ 6 , 18



 

วันพฤหัสบดีที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สายด่วนผู้บริโภคกับ อย. โทร 1556


สายด่วนผู้บริโภคกับ อย. โทร 1556

รู้ทุกคำตอบ เรื่องผลิตภัณฑ์คุณภาพ ครั้งละ 3 บาท ทั่วประเทศ
รับฟังข้อมูลผลิตภัณฑ์สุขภาพทางโทรศัพท์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
เปิดให้บริการรวมทั้งสิ้น 17 เมนูหลัก ดังนี้
เมนู 1 สาระน่ารู้ด้านยา
เมนู 2 สาระน่ารู้ด้านอาหาร
เมนู 3 สาระน่ารู้ด้านเครื่องสำอาง
เมนู 4 สาระน่ารู้ด้านเครื่องมือแพทย์
เมนู 5 สาระน่ารู้ด้านวัตถุเสพติด
เมนู 6 สาระน่ารู้ด้านวัตถุอันตรายในบ้านเรือน
เมนู 7 สาระน่ารู้ด้านโภชนาการ
เมนู 8 สาระน่ารู้เพื่อผู้สูงอายุ
เมนู 9 อย. กับงานในความรับผิดชอบ
เมนู 10 ร้องเรียนแจ้งเบาะแส
เมนู 11 รอบรู้ทันเหตุการณ์
เมนู 12 สระน่ารู้ด้านพิษวิทยา
เมนู 13 ผลิตภัณฑ์น่ากังขา
เมนู 14 การปรับระบบงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหาร
เมนู 15 ประกันสุขภาพถ้วนหน้า
เมนู 16 อย. เพื่อเศรษฐกิจชุมชน
เมนู 17 สาระน่ารู้ระบบความปลอดภัยด้านอาหารแห่งชาติ
หากท่านมีข้อสงสัยเกี่ยวกับ อย. โทร 1556

ที่มา : http://www.fda.moph.go.th/1556/
กรมสุขภาพจิตแนะเจอคนเร่ร่อนไม่ชัวร์มีอาการทางประสาท รีบแจ้ง 1300


กรมสุขภาพจิตแนะเจอคนเร่ร่อนไม่ชัวร์มีอาการทางประสาท รีบแจ้ง 1300

รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต แนะเจอคนเร่ร่อนและอาจมีอาการทางประสาท ให้แจ้งศูนย์ประชาบดี สายด่วน 1300 เพื่อให้เจ้าหน้าที่มาตรวจสุขภาพจิต
นพ.ทวี ตั้งเสรี รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงเหตุการณ์สาวประเภทสองถูกชายเร่ร่อนชิงทรัพย์บริเวณถนนพระอาทิตย์ แล้วพลาดท่าล้มถูกรถเมล์ทับตายสยอง เมื่อเช้าวันที่ 13 ก.ค.ที่ผ่านมา โดยผู้ก่อเหตุอ้างมีอาการทางประสาท ว่า คนที่มีอาการประสาท หรือคนบ้า ที่เร่ร่อนตามท้องถนน มีจำนวนไม่มาก โดยมีอยู่ประมาณร้อยละ 30 ของจำนวนผู้เร่ร่อนทั้งหมดเท่านั้น หากประชาชนพบเห็นคนเร่ร่อนแล้วไม่แน่ใจว่ามีปัญหาสุขภาพจิต หรือมีอาการทางประสาทหรือไม่ สามารถแจ้งไปยังกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) หรือศูนย์ประชาบดี สายด่วน 1300 เพื่อให้เจ้าหน้าที่มาทำการตรวจสอบสุขภาพจิตได้ หากพบว่าเป็นคนเร่ร่อนปกติ ก็จะเข้าไปอยู่ในความดูแลของ พม.แต่หากเป็นบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพจิต ก็จะนำตัวส่งโรงพยาบาลจิตเวชต่อไป
นพ.ทวี กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ หากพบเห็นบุคคลที่มีอาการทางประสาทเร่ร่อนอยู่ตามสถานที่ต่างๆ ประชาชนทุกคนสามารถแจ้งไปยังเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือกรมการปกครอง ในพื้นที่ดังกล่าว ให้นำบุคคลที่มีอาการทางประสาทส่งสถานพยาบาลได้เช่นกัน ตาม พ.ร.บ.สุขภาพจิต พ.ศ.2551


ที่มา : หนังสือพิมพ์ ASTV ผู้จัดการ
ที่มา :  http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/news/29372

ป้ายคำ

“มะรุม” พืชสมุนไพร แต่ไม่ใช่ “ยาวิเศษ”


ชี้ทานเป็นอาหารได้...ปลอดภัยไม่อันตราย
กระแสรักสุขภาพยังคงเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง ทั้งในสังคมไทยและสังคมโลก ประชากรไม่น้อยหันมาใส่ใจสุขภาพกันมากขึ้น และยังคงมีวี่แววว่าจะสนใจไปอย่างนี้เรื่อยๆ ขึ้นอยู่กับว่าช่วงไหน ฮิตอะไร แต่ที่แน่ๆ และยังคงยืนพื้นในความนิยมของคนส่วนใหญ่ ยังคงเป็น สมุนไพรโดยในขณะนี้ เทรนด์ได้มาหยุดอยู่ที่ผักพื้นบ้าน เจ้าของนาม มะรุม
มะรุม เป็นพืชพื้นบ้านที่มีทั่วทุกภาคของประเทศไทย ทำให้มีการเรียกชื่อมะรุมแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น คำว่ามะรุมนี้ เป็นคำเรียกขานของคนภาคกลาง ในขณะที่ฝั่งอีสานบ้านเฮาเอิ้นว่า ผักอีฮุม หรือ บักฮุ้ม ส่วนหมู่เฮาจาวเหนืออู้ว่า บะค้อนก้อม ส่วนชาวกะเหรี่ยงแถบกาญจนบุรีเรียก กาแน้งเดิง ด้านชายขอบจังหวัดแม่ฮ่องสอนกลับให้ชื่อแก่มันอย่างชวนให้ลิ้มรสว่า ผักเนื้อไก่
ครัวไทยแต่โบราณนำมะรุมมาปรุงเป็นอาหารหลากรสหลายตำรับ ในขณะที่ภูมิปัญญาด้านการแพทย์แผนไทยก็นำแทบทุกส่วนของมะรุม ไม่ว่าจะเป็นใบ ดอก ฝัก เมล็ด เปลือก ราก ฝัก ฯลฯ โดยสรรพคุณทางสมุนไพรในแต่ละส่วนก็มีต่างๆ กันไป
ปัจจุบันขณะนี้ ได้มีการโฆษณาสรรพคุณของมะรุมอย่างแพร่หลาย บ้างก็ว่าช่วยต้านมะเร็ง ช่วยรักษาเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ช่วยบำรุงสุขภาพ และสรรพคุณอื่นๆ อีกร้อยแปดพันประการ ทำให้แวดวงผู้รักสุขภาพทั้งหลายตื่นตัวและตื่นเต้นอีกครั้งกับสมุนไพรที่ดูเหมือนว่าจะ มหัศจรรย์ ชนิดนี้ ไม่ต่างกับปรากฏการณ์กระชายดำและยอ ที่บูมเปรี้ยงปร้างช่วงก่อนหน้านี้ และก็เลือนหายไปกับสายลมแล้ว
และล่าสุด กระแสมะรุมฟีเวอร์ ได้แพร่ระบาดจนกระทั่งบริษัทเอกชนหลายแห่งได้ผลิต แคปซูลมะรุม ออกมาขายกันเป็นจำนวนมาก เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้ที่ไม่ชอบรับประทานผัก แต่อยากได้คุณประโยชน์ด้านสมุนไพร รวมถึงผู้ที่ไม่ค่อยมีเวลาบำรุงสุขภาพ แต่อยากได้อาหารเสริมเพื่อเป็นการบำรุงทางลัด
ภญ.สุภาพร ปิติพร แห่งโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งเป็นอีกหนึ่งโรงพยาบาลที่ใช้แนวการรักษาด้วยแพทย์แผนไทยเป็นหลัก กล่าวถึงคุณสมบัติของมะรุมว่า มะรุมเป็นผักที่มีสารอาหารเกือบครบ วิตามินเอสูง มีโปรตีนสูง ซึ่งเป็นอาหารที่เหมาะกับเยาวชนที่ขาดอาหารในพื้นที่กันดาร โดยเฉพาะเด็กที่อายุต่ำกว่า 10 ปี เช่น เยาวชนในประเทศเอธิโอเปีย รวมถึงในพื้นที่ที่เกิดวิกฤติขาดแคลนอาหารอื่นๆ
อย่างไรก็ตาม การบริโภคมะรุม ประชาชนต้องเข้าใจก่อนว่ามะรุมไม่ได้รักษาโรคได้สารพัดโรค ไม่ใช่ยามหัศจรรย์ หากคือผักพื้นบ้านที่คนไทยใช้เป็นวัตถุดิบทำอาหารมาหลายรุ่นแล้ว ไม่ใช่ยาวิเศษอย่างที่กระแสสังคมเข้าใจ
มะรุมมีฤทธิ์ร้อน ก็พอจะช่วยในเรื่องระบบไหลเวียนโลหิต แล้วก็มีความเชื่อว่ามันช่วยเรื่องเบาหวานกับความดันโลหิตสูง ในส่วนตรงนี้ต้องพิสูจน์วิจัยกันต่อไป แต่ที่ห่วงก็คือ หากคนเข้าใจว่ามันเป็นยา ไม่ใช่พืชผัก และรับประทานมันในฐานะยารักษาโรค คนจะไม่รับประทานยาแผนปัจจุบันที่ผลิตออกมาเพื่อรักษาโรคนั้นๆ โดยตรง
ภญ.สุภาพร กล่าวต่อไปอีกว่า การบริโภคมะรุมนั้น อยากให้ประชาชนเข้าใจว่ามันคือผักพื้นบ้าน อยากให้บริโภคอย่างเข้าใจ เพราะจริงๆ แล้วมะรุมก็ไม่ได้ปลอดภัยไปเสียทั้งหมด เพราะในตัวมันก็เป็นพิษด้วยเหมือนกัน
อย่างที่บอกมะรุมเป็นพืชร้อน หากสตรีมีครรภ์รับประทานอาจจะทำให้แท้งได้ นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคเลือดก็ไม่ควรรับประทาน เนื่องจากจะทำให้เม็ดเลือดแตกง่าย รวมถึงคนเป็นโรคเกาต์ ก็ไม่ควรรับประทาน เนื่องจากมะรุมมีโปรตีนสูง
อย่างไรก็ตาม เภสัชกรแห่งโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรย้ำว่า ไม่ใช่การบริโภคมะรุมเป็นของไม่ปลอดภัย เพราะคนไทยแต่โบร่ำโบราณก็นำมะรุมมาประกอบอาหารในฐานะพืชผักท้องถิ่น แต่สำหรับผู้ที่คิดเสริมสุขภาพทางลัดด้วยการไปซื้อมะรุมสกัดเป็นเม็ดแคปซูลมารับประทานนั้น อยากให้ระมัดระวังสักนิด เพราะมะรุมสกัดยังไม่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
มะรุมรับประทานได้ในบริบทของอาหารปลอดภัย ไม่อันตราย และมีประโยชน์ตามสมควรในฤทธิ์ของสมุนไพร ที่ไม่อันตรายเพราะเราไม่ได้รับประทานทุกวัน และรับประทานในปริมาณไม่มากนัก แต่อยากจะฝากเตือนไปยังผู้ที่รักสุขภาพว่า สำหรับมะรุมสกัดที่มีอยู่มากในตลาดขณะนี้ค่อนข้างน่าเป็นห่วง และหากจะเลือกรับประทานคงจะต้องดูกันดีๆ เพราะเราไม่รู้ว่าเขาสกัดจากส่วนไหน แต่ละส่วนมีฤทธิ์และออกฤทธิ์ต่อกลไกอวัยวะในระบบต่างๆ กัน และไม่รู้ด้วยว่าที่สกัดมาจะมีสารอะไรบ้าง และมีมากน้อยแค่ไหน และใส่อะไรลงไปเพิ่มอีกบ้าง ที่สำคัญคือตอนนี้ อย. ยังไม่รับรองผลิตภัณฑ์สกัดจากมะรุม และก่อนหน้านี้ก็เคยปรากฏเช่นกันในกรณีของขี้เหล็ก ที่ออกฤทธิ์ทางเภสัชรักษาโรคได้ผล จึงมีการผลิตเป็นขี้เหล็กสกัดบรรจุแคปซูล ซึ่งพอคนไข้รับประทานเข้าไปปรากฏว่ามีหลายรายมีอาการผิดปกติที่ตับ
เภสัชกรแห่งโรงพยาบาลใหญ่ในจังหวัดปราจีนบุรี ยังให้รายละเอียดถึงประสบการณ์ด้านเภสัชรักษาของมะรุมจากที่เธอได้ทำงานกับหมอพื้นบ้านต่อไปอีกด้วยว่า เนื่องจากมะรุมมีฤทธิ์ร้อน จึงมีการนำมาใช้เพื่อแก้อาการปวดเมื่อย เหน็บชา ทำให้โลหิตไหลเวียนได้ดี ในบริบทของหมอพื้นบ้านก็ใช้มะรุมในการควบคุมอาการความดันโลหิตสูง โดยนำยอดมะรุมสด นำมาโขลกคั้นน้ำผสมน้ำผึ้ง ดื่มวันละครั้ง แก้ความดันขึ้น ซึ่งหมอพื้นบ้านทางแถบไทยใหญ่ก็ใช้มะรุมคุมความดันเช่นเดียวกัน
ส่วนคนที่มีอาการเหน็บชา กินมะรุมก็ช่วยแก้ได้เหมือนกัน เพราะช่วยให้เลือดไหลเวียนดี แต่คุณสมบัติก็ไม่ได้โดดเด่นมากนัก นอกจากนี้ ดอกอ่อนของมะรุมยังช่วยป้องกันหวัด และมีวิตามินซีสูงอีกด้วย ดีที่สุดคือมองมะรุมเป็นอาหาร ต้องรับประทานอย่างเข้าใจ คนเราต้องรับประทานหลากหลาย รับประทานให้ครบทุกรส เพราะอาหารที่หลากหลายจะเข้าไปบำรุงหลายกลไกในร่างกายในทุกๆ ระบบ เราต้องการอาหารหลายอย่าง ไม่ใช่จากมะรุมอย่างเดียว ขออย่าให้เข้าใจผิด อย่ามองมะรุมเป็นยาวิเศษ
ในขณะที่ รศ.ดร.นพมาศ สุนทรเจริญนนท์ อาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรอย่างหาตัวจับยากคนหนึ่งในประเทศไทย คาดคะเนที่มาของกระแสนิยมมะรุมว่า น่าจะมาจากต่างประเทศ ที่มีคนไข้ทดลองรับประทานแล้วปรากฏว่าร่างกายดีขึ้น จากนั้นก็มีคนนำมาทำเป็นฟอร์เวิร์ดเมลบ้าง เป็นข้อมูลลงในอินเทอร์เน็ตบ้าง ทำให้กระแสสุขภาพของมะรุมแพร่ไปในวงกว้าง จนกระทั่งเข้ามาสู่ประเทศไทยในที่สุด
จริงๆ แล้วข้อมูลมันยังไม่คอนเฟิร์มนะ เป็นกระแสนิยมแบบไฟไหม้ฟาง พอฝรั่งในอเมริกากินแล้วดี ก็มีการส่งเมล์บอกต่อๆ กัน จนเข้ามาประเทศไทย น่าจะเข้ามาทางชุมชนอโศกซึ่งนิยมบริโภคผักและอาหารออร์แกนิกอยู่แล้ว"
รศ.ดร.นพมาศ กล่าวต่อไปว่า เท่าที่ทราบงานวิจัยด้านมะรุมทางวิทยาศาสตร์มีค่อนข้างน้อย หากเทียบกับสมุนไพรที่อยู่ในกระแสนิยมตัวก่อนๆ นี้ และแม้ว่าจะมีบ้าง ก็อยู่ในระดับของการทดลองกับหนู และมีข้อมูลด้านลบแจ้งไว้เช่นกัน เช่น มะรุมมีโปรตีนสูง และเป็นโปรตีนที่เกาะกันเป็นก้อน จะไม่เหมาะกับผู้ป่วยบางโรค รวมถึงต่อผู้ป่วยด้วยโรคเลือดบางชนิด ก็ไม่ควรรับประทาน เนื่องจากในมะรุมมีสารบางชนิดที่เป็นพิษต่อผู้ป่วยโรคดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม ในมะรุมก็มีวิตามินสูง มีสรรพคุณบำรุงสายตา มีวิตามินเอ มีเบตาแคโรทีน และอาจจะมีฤทธิ์ทางเภสัชที่ช่วยด้านลดน้ำตาลได้บ้าง การเลือกใช้ต้องระมัดระวัง แต่การนำมาเป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหารนั้น ถือเป็นปริมาณที่ปลอดภัย แต่ในส่วนของการเลือกจะดูแลสุขภาพแบบรวดเร็วโดยการไปซื้อมะรุมที่สกัดเป็นเม็ดเหมือนยาหรืออาหารเสริมนั้น ต้องดูให้ดีว่าส่วนใหญ่ออกฤทธิ์อย่างไร ทางที่ดีรับประทานสดเป็นอาหารจะปลอดภัยที่สุดผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรรายนี้ทิ้งท้าย
ที่มา: หนังสือพิมพ์ASTV ผู้จัดการ
Update 28-05-52
อัพเดทเนื้อหาโดย : กันทิมา ลีจันทึก

สธ.ห้ามขายเหล้าอาสาฬหบูชา-เข้าพรรษา

สธ.ห้ามขายเหล้าอาสาฬหบูชา-เข้าพรรษา
กระทรวงสาธารณสุข ห้ามขายแอลกอฮอล์วันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา พบโทษจำคุก 6 เดือน ปรับ 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในวันอาสาฬหบูชา และ วันเข้าพรรษา ซึ่งตรงกับวันที่ 2 และ 3 สิงหาคม 2555 เป็นวันพระใหญ่ และเป็นวันงดดื่มสุราแห่งชาติ ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อพ.ศ. 2552 โดยตามประกาศดังกล่าว กำหนดห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวันพระใหญ่ 4 วันคือวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา ซึ่งนอกจากจะขัดต่อหลักศีลธรรมในพุทธศาสนาแล้ว ยังก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆตามมาได้ เช่นอุบัติเหตุจากเมาแล้วขับ ปัญหาอาชญากรรม โดยยกเว้นให้ขายในโรงแรมตามพระราชบัญญัติโรงแรมที่มีการจดทะเบียนถูกต้องเท่านั้น
นายวิทยากล่าวต่อว่า ในการควบคุมร้านค้า ผู้ประกอบการ ที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้ปฏิบัติตามกฎหมายในวันพระใหญ่ติดต่อกัน 2 วันนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้สั่งการให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ ประสานผู้ว่าราชการจังหวัด และเจ้าหน้าที่ตำรวจ ออกตรวจร้านค้าในพื้นที่อย่างเคร่งครัด หากพบผู้ฝ่าฝืนให้ลงโทษอย่างเคร่งครัด โดยไม่มีข้อยกเว้น มีโทษจำคุก 6 เดือน ปรับ 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ด้านนายแพทย์สมาน ฟูตระกูล ผู้อำนวยการสำนักควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค กล่าวว่า สำนักควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ส่งทีมตรวจจากส่วนกลาง 2-3ทีม ลงสุ่มตรวจที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากมีการจัดงานเทศกาลสำคัญเช่นการแห่เทียนเข้าพรรษา เป็นต้น รวมทั้งตรวจในพื้นที่กทม.และปริมณฑลด้วย จะเริ่มออกตรวจตั้งแต่หลังจากเที่ยงคืนของวันที่ 1 สิงหาคม 2555 จนถึงเวลา 24.00 น. ของวันที่ 3 สิงหาคม 2555 การตรวจที่ผ่านมาส่วนใหญ่ได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบการอย่างดี อย่างไรก็ตามหากประชาชนพบเห็นการลักลอบจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดทุกพื้นที่ในวันวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา ขอความร่วมมือให้โทรแจ้งเจ้าหน้าที่ที่หมายเลข 0 2590 3342 ตลอด 24 ชั่วโมง


ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์
ที่มา: http://www.thaihealth.or.th/                                               

ป้ายคำ

สธ.ห้ามขายเหล้าอาสาฬหบูชา-เข้าพรรษา



สธ.ห้ามขายเหล้าอาสาฬหบูชา-เข้าพรรษา
กระทรวงสาธารณสุข ห้ามขายแอลกอฮอล์วันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา พบโทษจำคุก 6 เดือน ปรับ 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในวันอาสาฬหบูชา และ วันเข้าพรรษา ซึ่งตรงกับวันที่ 2 และ 3 สิงหาคม 2555 เป็นวันพระใหญ่ และเป็นวันงดดื่มสุราแห่งชาติ ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อพ.ศ. 2552 โดยตามประกาศดังกล่าว กำหนดห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวันพระใหญ่ 4 วันคือวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา ซึ่งนอกจากจะขัดต่อหลักศีลธรรมในพุทธศาสนาแล้ว ยังก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆตามมาได้ เช่นอุบัติเหตุจากเมาแล้วขับ ปัญหาอาชญากรรม โดยยกเว้นให้ขายในโรงแรมตามพระราชบัญญัติโรงแรมที่มีการจดทะเบียนถูกต้องเท่านั้น
นายวิทยากล่าวต่อว่า ในการควบคุมร้านค้า ผู้ประกอบการ ที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้ปฏิบัติตามกฎหมายในวันพระใหญ่ติดต่อกัน 2 วันนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้สั่งการให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ ประสานผู้ว่าราชการจังหวัด และเจ้าหน้าที่ตำรวจ ออกตรวจร้านค้าในพื้นที่อย่างเคร่งครัด หากพบผู้ฝ่าฝืนให้ลงโทษอย่างเคร่งครัด โดยไม่มีข้อยกเว้น มีโทษจำคุก 6 เดือน ปรับ 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ด้านนายแพทย์สมาน ฟูตระกูล ผู้อำนวยการสำนักควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค กล่าวว่า สำนักควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ส่งทีมตรวจจากส่วนกลาง 2-3ทีม ลงสุ่มตรวจที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากมีการจัดงานเทศกาลสำคัญเช่นการแห่เทียนเข้าพรรษา เป็นต้น รวมทั้งตรวจในพื้นที่กทม.และปริมณฑลด้วย จะเริ่มออกตรวจตั้งแต่หลังจากเที่ยงคืนของวันที่ 1 สิงหาคม 2555 จนถึงเวลา 24.00 น. ของวันที่ 3 สิงหาคม 2555 การตรวจที่ผ่านมาส่วนใหญ่ได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบการอย่างดี อย่างไรก็ตามหากประชาชนพบเห็นการลักลอบจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดทุกพื้นที่ในวันวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา ขอความร่วมมือให้โทรแจ้งเจ้าหน้าที่ที่หมายเลข 0 2590 3342 ตลอด 24 ชั่วโมง


ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์

ป้ายคำ

ไตวาย ตายวัย ถ้าไม่ดูแล- Vejthani Hospital



        รายการ "37 องศา" ตอน ไตวาย ตายวัย ถ้าไม่ดูแล โดย นพ.วีรศักดิ์ แพร่ชินวงศ์ อายุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคไตโรงพยาบาลเวชธานี Vejthani Hospital

ไตวายเรื้อรัง เกิดจากอะไร?

ไตวายเรื้อรัง

ไตวายเรื้อรัง (หมอชาวบ้าน)
คอลัมน์ สารานุกรมทันโรค โดย นพ.สุรเกียรติ อาซานานุภาพ

ภาวะไตวาย หมายถึง ภาวะที่เนื้อไตทั้ง 2 ข้างถูกทำลายจนทำงานไม่ได้ หรือได้น้อยกว่าปกติ ทำให้น้ำและของเสียไม่ถูกขับออกมา จึงเกิดการคั่งจนเป็นพิษต่อร่างกาย นอกจากนี้ ยังทำให้เกิดผลกระทบต่อดุลของสารเกลือแร่ (อิเล็กโทรไลต์) และความเป็นกรดด่างในเลือด รวมทั้งเกิดภาวะพร่องฮอร์โมนบางชนิดที่ไตสร้าง การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดนี้นำไปสู่ความผิดปกติของอวัยวะแทบทุกส่วนของร่างกาย

ภาวะไตวายสามารถแบ่งเป็น "ไตวายเฉียบพลัน" (ซึ่งมีอาการเกิดขึ้นฉับพลัน และเป็นอยู่นานเป็นวันหรือเป็นสัปดาห์) กับ "ไตวายเรื้อรัง" (ค่อย ๆ เกิดขึ้นทีละน้อย นานเป็นแรมเดือนแรมปี)

ในที่นี้ขอกล่าวถึง "ไตวายเรื้อรัง" เป็นการเฉพาะ

ชื่อภาษาไทย : ไตวายเรื้อรัง
ชื่อภาษาอังกฤษ : Chronic renal failure (CRF)

สาเหตุ

ส่วนใหญ่เกิดจากภาวะแทรกซ้อนของเบาหวาน และความดันโลหิตสูงที่ขาดการรักษาอย่างจริงจัง อาจเกิดจากโรคไตเรื้อรัง ที่สำคัญได้แก่ กรวยไตอักเสบเรื้อรัง (ซึ่งมักไม่แสดงอาการ) นิ่วในไต โรคถุงน้ำไตชนิดหลายถุง (polycystic kidney ซึ่งมีความผิดปกติมาแต่กำเนิด และถ่ายทอดทางพันธุกรรม)

ผู้ที่ใช้ยาแก้ปวด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พาราเซตามอล และกลุ่มยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สตีรอยด์ (เช่น ไอบูโพรเฟนไดโคลฟีแนก) ที่ใช้รักษาอาการปวดข้อ โดยใช้ติดต่อกันทุกวันนานเป็นแรมปี ก็อาจเกิดภาวะไตวายเรื้อรังตามมาได้

นอกจากนี้ ยังอาจพบเป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคอื่น ๆ เช่น โรคเกาต์ โรคเอสแอลอี ต่อมลูกหมากโต ภาวะยูริกในเลือดสูง ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง พิษจากสารตะกั่วหรือแคดเมียม เป็นต้น

การแยกโรค
เนื่องจากภาวะไตวายเรื้อรังมีอาการได้ต่าง ๆ ซึ่งไม่มีความจำเพาะเจาะจง อาการเหล่านี้อาจเกิดจากโรคอื่น ๆ ซึ่งแพทย์จะต้องทำการตรวจวินิจฉัยแยกแยะให้แน่ชัด ตัวอย่างเช่น

อาการบวม ซึ่งเป็นอาการที่พบได้บ่อยในโรคนี้ ก็ต้องแยกจากโรคไตชนิดอื่น (เช่น โรคหน่วยไตอักเสบ โรคไตเนโฟรติก) โรคตับเรื้อรัง (เช่น ตับแข็ง) ภาวะหัวใจวาย (ซึ่งอาจเกิดจากความดันโลหิตสูง โรคหัวใจต่าง ๆ)

อาการซีด ก็ต้องแยกจากโรคเลือดบางชนิด (เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว โลหิตจางจากภาวะไขกระดูกฝ่อ เป็นต้น ซึ่งมักจะมีไข้ จุดแดงจ้ำเขียว ร่วมด้วย) โรคโลหิตจางจากภาวะขาดธาตุเหล็ก (ซึ่งจะตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาธาตุเหล็กบำรุงเลือด)

อาการ
อาการขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค โดยในระยะแรกอาจไม่มีอาการให้สังเกตได้ชัดเจน และมักจะตรวจพบจากการตรวจเลือด (พบว่ามีระดับครีอะทินีนและบียูเอ็นสูง) ในขณะตรวจเช็กสุขภาพหรือมาพบแพทย์ด้วยโรคอื่น

ผู้ป่วยจะมีอาการชัดเจนเมื่อเนื้อไตทั้ง 2 ข้างถูกทำลายจนทำหน้าที่ได้น้อยกว่าร้อยละ 15 ของไตปกติ โดยจะสังเกตว่ามีปัสสาวะออกมาก และปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ท้องเดินบ่อย นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ ขาดสมาธิ ตามัว ผิวหนังแห้งและมีสีคล้ำ คันตามผิวหนัง ชาตามปลายมือปลายเท้า

บางรายอาจมีอาการหอบเหนื่อย สะอึก เป็นตะคริว ใจหวิว ใจสั่ง เจ็บหน้าอก บวม หรือมีเลือดออกตามผิวหนังเป็นจุดแดงจ้ำเขียว หรืออาจเจียนเป็นเลือด ถ่ายเป็นเลือด

เมื่อเป็นมากขึ้น จะมีอาการปัสสาวะออกน้อย

เมื่อเป็นถึงขั้นสุดท้าย ผู้ป่วยจะมีอาการซึม ชัก หมดสติ

การวินิจฉัย

ในรายที่มีอาการที่น่าสงสัย แพทย์จะทำการวินิจฉัยโดยการตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น
ตรวจเลือด พบสารบียูเอ็น (BUN) และครีอะทินีน (creatinine) ในเลือดสูง รวมทั้งอาจพบการเปลี่ยนแปลงของระดับเกลือแร่ (อิเล็กโทรไลต์) ในเลือดผิดจากดุลปกติ

ตรวจปัสสาวะ พบสารไข่ขาว และน้ำตาลในปัสสาวะรวมทั้งอาจพบเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และสารเคมีต่าง ๆ ที่ผิดปกติ ขึ้นกับสาเหตุของโรค

ถ่ายภาพไตด้วยการเอกซเรย์ หรืออัลตราซาวนด์ อาจพบความผิดปกติของไต เช่น นิ่วในไต ไตทั้ง 2 ข้างฝ่อตัว เป็นต้น

เจาะเนื้อไตออกพิสูจน์ (renal biopsy) แพทย์อาจจำเป็นต้องทำการตรวจด้วยวิธีนี้สำหรับผู้ป่วยบางราย ที่ยังไม่พบสาเหตุแน่ชัดจากการตรวจโดยวิธีอื่นมาก่อน

การรักษา

แพทย์จะให้การรักษาโรคที่เป็นสาเหตุของไตวาย เช่น ให้ยาควบคุมเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคเกาต์ ผ่าตัด นิ่วในไต เป็นต้น

นอกจากนี้ก็ให้การแก้ไขตามอาการ หรือภาวะแทรกซ้อนที่พบร่วม เช่น
ให้ยาควบคุมความดันโลหิตและไขมันในเลือด (ที่สูงจากโรคนี้) และภาวะหัวใจวายที่เป็นโรคแทรกซ้อน

ถ้าบวม ให้ยาขับปัสสาวะ

ถ้าซีด อาจต้องให้เลือด บางรายแพทย์อาจฉีดฮอร์โมน อีริโทรพอยเอทิน (erythropoietin) เพื่อกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง (ฮอร์โมนชนิดนี้สร้างที่ไต เมื่อไตวายก็จะขาดฮอร์โมนชนิดนี้)

การดูแลตนเอง
ผู้ป่วยที่เป็นไตวายเรื้อรัง ควรติดตามการรักษากับแพทย์อย่าได้ขาด ควรกินยาและปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ไม่ควรปรับขนาดยาเอง หรือซื้อยากินเอง เพราะยาบางอย่างอาจมีพิษต่อไตได้

นอกจากนี้ ผู้ป่วยควรปฏิบัติตัว ดังต่อไปนี้

จำกัดปริมาณโปรตีนที่กินไม่เกินวันละ 40 กรัม โดยลดปริมาณของ ไข่ นม และเนื้อสัตว์ลง (ไข่ไก่ 1 ฟอง มีโปรตีน 6-8 กรัม นมสด 1 ถ้วยมีโปรตีน 8 กรัม เนื้อสัตว์ 1 ขีด มีโปรตีน 23 กรัม) และกินข้าวเมล็ดธัญพืช ผักและผลไม้ให้มากขึ้น

จำกัดปริมาณน้ำที่ดื่ม โดยคำนวณจากปริมาณปัสสาวะต่อวันบวกกับน้ำที่เสียไปทางอื่น (ประมาณ 800 มล./วัน) เช่น ถ้าผู้ป่วยมีปัสสาวะ 600 มล./วัน น้ำที่ควรได้รับเท่ากับ 600 มล. + 800 มล. (รวมเป็น 1,400 มล./วัน)

จำกัดปริมาณโซเดียมที่กิน ถ้ามีอาการบวมหรือมีปัสสาวะน้อยกว่า 800 มล./วัน ควรงดอาหารเค็ม งดใช้เครื่องปรุง (เช่น น้ำปลา ซีอิ๊ว ซอสทุกชนิด) ผงชูรส สารกันบูด อาหารที่ใส่ผงฟู (เช่น ขนมปังสาลี) อาหารกระป๋อง น้ำพริก กะปิ ปลาร้า ของดอง หนำเลี๊ยบ)

จำกัดปริมาณโพแทสเซียมที่กิน ถ้ามีปัสสาวะน้อยกว่า 800 มล./วัน ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโพแทสเซียมสูง เช่น ผลไม้แห้ง กล้วย ส้ม มะละกอ มะขาม มะเขือเทศ น้ำมะพร้าว ถั่ว สะตอ มันทอด หอย เครื่องในสัตว์ เป็นต้น

ผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายที่ได้รับการรักษาด้วยการล้างไตโดยการฟอกเลือด (hemodialysis) การล้างไตทางช่องท้อง (continuous ambulatory peritoneal dialysis/CAPD) หรือการปลูกถ่ายไต ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

สำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะท้าย (มักมีระดับครีอะทินีน และบียูเอ็นในเลือดสูงเกิน 10 และ 100 มก./ดล. ตามลำดับ ซึ่งไตจะทำหน้าที่ได้ต่ำกว่าร้อยละ 15 ของไตปกติ) แพทย์จะทำการรักษาด้วยการล้างไต (dialysis) ซึ่งมีอยู่ 2 วิธี ได้แก่ การล้างไตโดยการฟอกเลือด (กระทำที่สถานพยาบาลสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง) และการล้างไตทางช่องท้อง (ซึ่งผู้ป่วยจะทำเองที่บ้านทุกวัน) ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถทำงานออกกำลังกายได้ และมีชีวิตยืนยาวขึ้น

ในผู้ป่วยบางราย แพทย์อาจพิจารณาทำการผ่าตัดปลูกถ่ายไตหรือเปลี่ยนไต (renal transplantation) โดยใช้ไตบริจาคจากญาติสายตรง หรือผู้บริจาคที่มีไตเข้ากันได้กับเนื้อเยื่อของผู้ป่วย หลังจากปลูกถ่ายไต ผู้ป่วยต้องกินยากดภูมิคุ้มกัน (เช่น ไซโคลสปอริน) ทุกวันตลอดไป เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายเกิดปฏิกิริยาต่อต้านไตใหม่ วิธีนี้ช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นคืนหน้าที่ของไตจนเป็นปกติ สามารถมีชีวิตเช่นคนปกติได้

ภาวะแทรกซ้อน

โรคนี้มีผลกระทบต่อร่างกายแทบทุกส่วนที่สำคัญ ได้แก่
เนื่องจากไตขับน้ำไม่ได้ ทำให้มีอาการบวมทั่วตัว และทำให้มีน้ำคั่งในกระแสเลือด เป็นผลทำให้ความดันโลหิต และภาวะหัวใจวายตามมา

ภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูง เนื่องจากไตขับสารนี้ได้น้อยลง อาจทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะหรือหยุดเต้นได้

ภาวะกระดูกอ่อน ทำให้แตกหักง่าย

ภาวะซีด (โลหิตจาง) เนื่องจากขาดฮอร์โมนอีริโทรพอยเอทิน

ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ หรือองคชาตไม่แข็งตัว

ภูมิต้านทานโรคต่ำ ทำให้เป็นโรคติดเชื้อง่าย และรุนแรง เช่น ปอดอักเสบ

เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ

ภาวะแทรกซ้อนทางสมอง เช่น ซึม ชัก หมดสติ

การดำเนินโรค

ถ้าหากไม่ได้รับการรักษา ก็มักจะเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ รวมทั้งจะค่อย ๆ ลุกลามกลายเป็นไตวายระยะท้าย ซึ่งสร้างความยุ่งยากในการรักษามากขึ้น ถึงขั้นล้างไต หรือเปลี่ยนไต

ในรายที่ได้รับการรักษาอย่างจริงจัง และต่อเนื่องก็จะช่วยชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนออกไปได้

ส่วนผู้ทีได้รับการรักษาด้วยการล้างไต หรือเปลี่ยนไตก็มักจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีชีวิตยืนยาวนานเกิน 10-20 ปีขึ้นไป

การป้องกัน

1.หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จัด

2.รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

3.ถ้าเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคเกาต์ หรือนิ่วในไต ควรรักษาอย่างจริงจัง จนสามารถควบคุมโรคได้เป็นอย่างดีอย่างต่อเนื่อง

4.เมื่อเป็นโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (เช่นกระเพาะปัสสาวะอักเสบ กรวยไตอักเสบ) หรือมีภาวะอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะ (เช่น นิ่ว ต่อมลูกหมากโต) จะต้องได้รับการรักษาให้หายขาด อย่าปล่อยให้เป็นเรื้อรัง

5.หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีพิษต่อไต ที่สำคัญคือ อย่ากินยาแก้ปวดหรือยาแก้ปวดข้อติดต่อกันนาน ๆ

ความชุก

โรคนี้พบบ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ ผู้ที่มีอายุเกิน 65 ปี คนอ้วน ผู้ที่สูบบุหรี่ และผู้ที่ใช้ยาแก้ปวดหรือยาแก้ปวดข้อ ติดต่อกันนาน ๆ



ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
โรคไต : อาการ สาเหตุ และข้อแนะนำ
โรคไต ภาวะไตวาย อาการและสัญญาณ
ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง
เบาหวาน ทำให้ไตวาย


ขอขอบคุณข้อมูลจาก


ที่มา : http://www.youtube.com/user/vejthani2000
ที่มา : http://www.doctor.or.th/
ที่มา : http://health.kapook.com/view28606.html