|
|
อาหารปนเปื้อนสารเคมี...อันตราย
|
|
มีอาหารหลายชนิดที่เรากินโดยไม่รู้ว่ามีสารเคมีปนเปื้อนอยู่
ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพและ อาจเป็นต้นเหตุให้เกิดโรคร้ายแรงได้ สารเคมีสำคัญๆ
ที่มักจะปนเปื้อนในอาหาร 5 ชนิด ที่มักตรวจพบในอาหาร ได้แก่ |
- สารบอแรกซ์ (Borax)
มีลักษณะเป็นผงสีขาวมีชื่ออื่นๆ อีก เช่น น้ำประสานทอง สารข้าวตอก ผงกันบูด เพ่งแซ
ผงเนื้อนิ่ม
- สารบอแรกซ์ เป็นสารที่ใช้ในอุตสาหกรรม
เช่น
- ทำแก้ว เพื่อทำให้ทนความร้อน
- เป็นสารประสานในการเชื่อมทอง
- เป็นสารหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราในแป้งทาตัว
เป็นต้น
แต่แม่ค้ามักนำมาผสมในอาหาร
เพื่อให้อาหารมีความหยุ่นกรอบ คงตัวได้นาน ไม่บูดเสียง่าย
อาหารที่มักพบว่ามีสารบอแรกซ์ ได้แก่ หมูบด
ลูกชิ้น ทอดมัน หมูสด เนื้อสด ไส้กรอก ผลไม้ดอง ทับทิมกรอบ ลอดช่อง เป็นต้น
พิษของสารบอแรกซ์เกิดได้สองกรณี คือ
- แบบเฉียบพลัน จะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
อุจจาระร่วง อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ หงุดหงิด ผิวหนังอักเสบ ผมร่วง
ส่วนอีกกรณีคือ
- แบบเรื้อรัง จะมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร
ผิวหนังแห้ง หน้าตาบวม เยื่อตาอักเสบ ตับไตอักเสบ
คำแนะนำ
- ผู้บริโภคไม่ซื้อเนื้อหมูที่ผิดปกติจากธรรมชาติ
- หลีกเลี่ยงสารบอแรกซ์ในอาหารโดย
ไม่ซื้อหมูบดสำเร็จรูป ควรซื้อเป็นชิ้นแล้วนำมาบดหรือสับเอง
- ไม่กินอาหารที่มีลักษณะกรอบเด้ง
หรืออยู่ได้นานผิดปกติ
โทษของการผลิตหรือจำหน่ายอาหารซึ่งปนเปื้อนสารบอแรกซ์
ถือเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 มาตรา 25(1) เป็นอาหารไม่บริสุทธิ
ตามมาตรา 26(1) มีโทษตามมาตรา 58 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน
20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การทดสอบโดยใช้ชุดทดสอบบอแรกซ์ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
- สับเนื้อเป็นชิ้นเล็กๆ
- เติมน้ำยาทดสอบบอแรกซ์จนแฉะกวนให้เข้ากัน
- จุ่มกระดาษขมิ้นให้เปียกครึ่งแผ่น
- นำกระดาษขมิ้นไปตากแแดนาน 10 นาที
- ดูสี ถ้ากระดาษขมิ้นมีสีแดง
แสดงว่าตัวอย่างมีบอแรกซ์ปนอยู่
สารกันรา หรือสารกันบูด เป็นกรดที่มีอันตรายต่อร่างกายมาก
ซึ่งผู้ผลิตอาหารบางรายนำมาใส่เป็นสารกันเสียในอาหารแห้ง
เพื่อป้องกันเชื้อราขึ้น
- อาหารที่มักพบว่ามีสารกันรา ได้แก่
น้ำผักดอง น้ำดองผลไม้ แหนม หมูยอ เป็นต้น
- พิษของสารกันรา
เมื่อกินเข้าไปจะทำลายเซลล์ในร่างกายให้ตาย หากกินเข้าไปมากๆ
จะทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้ ทำให้เป็นแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ได้
ความดันโลหิตต่ำจนช็อกได้ หรือในบางรายที่กินเข้าไปไม่มากแต่แพ้
จะทำให้เป็นผื่นคันขึ้นตามตัว อาเจียน หูอื้อ มีไข้
- หลีกเลี่ยงพิษจากสารกันราได้โดย
เลือกกินอาหารที่สดใหม่ ไม่กินอาหารหมักดอง
หรือเลือกซื้อจากแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้ ซึ่งได้รับการรับรองคุณภาพ มีเครื่องหมาย
อย.
- การทดสอบเบื้องต้นสารกันรา โดยชุดตรวจกรมซาลิซิลิคในอาหาร
สารฟอกขาว หรือผงซักมุ้งหรือ สารโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์(Sodium
Hydrosulfite) เป็นสารเคมีที่ใช้ฟอกแห อวน แต่แม่ค้าบางรายนำมาใช้ฟอกขาวในอาหาร
เพื่อให้อาหารมีสีขาว ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
- อาหารที่มักพบว่ามีการใช้สารฟอกขาว ได้แก่
ถั่วงอก ขิงฝอย ยอดมะพร้าว กระท้อน หน่อไม้ดอง น้ำตาลมะพร้าว ทุเรียนกวน
- อันตรายของสารฟอกขาวคือ
เมื่อสัมผัสโดยตรงจะทำให้ผิวหนังอักเสบ เป็นผื่นแดง และถ้ากินเข้าไป
จะทำให้เกิดอาการอักเสบในอวัยวะที่สัมผัสอาหาร เช่น ปาก ลำคอ กระเพาะอาหาร
เกิดอาการปวดหลัง ปวดศีรษะ อาเจียน แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก ความดันโลหิตลดลง
และหากกินมากอาจเสียชีวิตได้
- หลีกเลี่ยงสารฟอกขาวได้โดยการเลือกกินอาหารที่มีสีใกล้เคียงธรรมชาติ
ไม่ขาวจนเกินไป
- คำแนะนำ
ผู้บริโภคควรใส่ใจในการเลือกอาหารที่มีความสะอาด และมีสีใกล้ธรรมชาติ
จะช่วยให้ปลอดภัยจากอันตรายของสารฟอกขาว
- การทดสอบเบื้องต้นสารฟอกขาว โดยใช้ชุดทดสอบสารฟอกขาวของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
- นำถั่วงอกมาหั่นเป้นข้อเล็กๆ
- เติมน้ำ 10 ซีซี บดให้เข้ากัน
- หยดน้ำยา 3-4 หยด สังเกตดูสีน้ำยา
- การอ่านผล ถ้าน้ำยาเป็นสีเทา ดำ
แสดงว่ามีสารไฮโดรซัลไฟต์
สารฟอร์มาลิน(Formalin)
หรือน้ำยาดองศพเป็นสารอันตรายที่แม่ค้าบางราย นำมาใช้ราดอาหารสด เพื่อให้
คงความสดอยู่ได้นาน ไม่บูดเน่าง่าย
- อาหารที่มักตรวจพบว่ามีสารฟอร์มาลินปนเปื้อนอยู่ เช่น
ผักสดต่างๆ อาหารทะเลสด และเนื้อสัตว์สด เป็นต้น
- อันตรายของสารฟอร์มาลิน
เมื่อกินเข้าไปจะเกิดเป็นพิษเฉียบพลัน ตั้งแต่ปวดท้องอย่างรุนแรง อาเจียน ท้องเสีย
หมดสติ และอาจตายได้หากได้รับในปริมาณมาก
- การทดสอบเบื้องต้นโดยใช้
ยาฆ่าแมลง หรือ สารเคมีสำหรับกำจัดแมลงซึ่งเกษตรกรบางคนใช้ในปริมาณมากเกินไป
จนทำให้อาจตกค้างมากับผัก หรือผลไม้สด ปลาแห้ง
- อันตรายจากยาฆ่าแมลง เมื่อเรากินเข้าไปมากๆ
ในครั้งเดียว จะเกิดพิษแบบเฉียบพลัน เช่น ทำให้กล้ามเนื้อสั่น กระสับกระส่าย
ชักกระตุก และหมดสติ หายใจขัด และอาจหยุดหายใจได้ แต่พิษที่พบมากที่สุดคือ คลื่นไส้
อาเจียน ท้องเดิน เกิดสะสมในร่างกาย ทำให้เกิดโรคมะเร็งได้
- การหลีกเลี่ยงจากยาฆ่าแมลงที่ปนเปื้อนมากับอาหารคือ
เลือกกินผัก ผลไม้ตามฤดูกาล หรือผักพื้นบ้าน
เลือกผักที่มีรูพรุนจากการเจาะของแมลงบ้าง กินผักใบมากกว่าผักหัว
เพราะผักหัวจะสะสมสารพิษไว้มากกว่า ล้างและปอกเปลือก(ในชนิดที่ทำได้)
ก่อนนำมาบริโภค และเลือกซื้อจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เช่น ผักอนามัย ผักกางมุ้ง
เป็นต้น
- การทดสอบเบื้องต้นยาฆ่าแมลง โดยชุดทดสอบยาฆ่าแมลงในอาหารของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
สารเร่งเนื้อแดง (ซาลบูตามอล)
- ในท้องตลาดผู้บริโภคเคยเห็นหมูเนื้อแดงซึ่งมีแต่เนื้อล้วนๆ
ไม่มีมันเลย ซึ่งมาจากความต้องการของผู้บริดภค ที่ต้องการเนื้อแดงล้วนๆไม่มีมันเลย
ผู้เลี้ยงจึงให้หมูกินสารเคมี คือ ซาลบูตามอล
- ซาลบูตามอล
เป็นยาสำคัญที่ใช้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืด ช่วยในการขยายหลอดลม
และมีฤทธิ์ช่วยกระตุ้นการเต้นของหัวใจ
เมื่อมีการนำสารซาลบูตามอลไปใช้เร่งเนื้อแดงในหมู โดยให้หมูกินสารนี้
เมื่อตกค้างมาถึงผู้บริโภค อาจมีผลข้างเคียงทำให้มีอาการมือสั่น กล้ามเนื้อกระตุก
ปวดศีรษะ หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ กระวนกระวาย วิงเวียนศีรษะ บางรายมีอาการเป็นลม
คลื่นไส้อาเจียน เป็นอันตรายมากสำหรับผู้ที่เป็นโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง
ผู้ป่วยเบาหวาน หญิงมีครรภ์
- คำแนะนำ ผู้บริโภคควรหลีกเลี่ยง
ไม่กินเนื้อหมูที่มีสารดังกล่าว โดยเลือกหมูที่มีชั้นมันหนา
และเลือกหมูที่อยู่ในลักษณะสีไม่แดงมาก
|
|
|
|
|