วันจันทร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การแพ้ยา

การแพ้ยา
 
ความจริงมีอยู่ว่า
  • ยาทุกชนิดสามารถทำให้เกิดการแพ้ได้ เพียงแต่ว่าจะมีโอกาสพบได้บ่อยแค่ไหนเท่านั้น แทบจะไม่มีทางเลยที่จะพญากรณ์ได้ว่า ท่านจะเกิดการแพ้ยาตัวใดบ้าง และลักษณะการแพ้ยาตัวเดียวกันในแต่ละคนก็ไม่เหมือนกันด้วย แต่โดยทั่วๆไป จะพบว่าผู้ที่มีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้ มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการแพ้ยาด้วย
  • การแพ้ยาสามารถเกิดได้แม้ว่าจะได้รับยาปริมาณเพียงเล็กน้อย
  • บางครั้งการแพ้ไม่ได้เกิดจากตัวยา แต่เกิดจาก
  • ความโลภของผู้ขาย
  • ความปนเปื้อน
  • แพ้สี หรือ ส่วนประกอบอื่นๆในยาที่ไม่ใช่ยา
ซึ่งเป็นผลให้เกิดการแปลผลผิด
  • อาการแพ้ที่พบ ประกอบด้วย ผื่นคัน ลมพิษ บวม ไข้ การเปลี่ยนแปลงของโลหิต เช่น โลหิตจาง
  • อาการแพ้อาจเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว หรือ ค่อยๆเกิดขึ้นอย่างช้าๆ
  • มีอาการแพ้ประเภทหนึ่งที่รุนแรงมาก มีชื่อเรียกเฉพาะว่า Anaphylaxis
Anaphylaxis
  • เป็นปฏิกิริยาการแพ้อย่างหนึ่งในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่รุนแรง อันตรายที่สุด ผู้ป่วยถึงตายได้ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีและถูกต้อง
  • อาการที่เกิด คือ หลอดลมตีบตัว บวม ทำให้หายใจลำบาก ความดันโลหิตลดต่ำลง ชีพจรเต้นเร็ว คลื่นไส้ อาเจียร หมดสติ หัวใจล้มเหลว
ทำอย่างไรเมื่อแพ้ยา
  • เก็บยาทั้งหมดที่ท่านรับประทานอยู่ เพื่อนำไปสอบถามจากแพทย์ เภสัชกร
  • ทานยาแก้แพ้ ได้แก่ Chlorpheniramine ครั้งละ 1 เม็ด วันละ 4 ครั้ง
  • ในกรณีที่แพ้มาก ให้ทานยาสเตียรอยด์ เพิ่มด้วย
แนวทางการป้องกันการแพ้ยา และปฏิบัติตัว
  1. เลือกหาซื้อยาจากร้านที่มีเภสัชกรประจำที่ท่านวางใจได้
  2. เมื่อทานแพ้ยาใด และไม่ทราบชื่อยา ควรเก็บยานั้นไว้ แล้วไปสอบถามจากแพทย์ เภสัชกร ทันตแพทย์ ที่ท่านได้รับยามา
  3. จงจดบันทึกชื่อยาที่ท่านทราบว่าแพ้ติดตัวไว้ตลอด และแจ้งให้แพทย์ เภสัชกร ทันตแพทย์ ทราบทุกครั้ง ข้อนี้จะมีประโยชน์มาก เพราะการแพ้ยาตัวหนึ่ง จะเป็นแนวทางที่ทำให้ทราบได้ว่า ท่านอาจจะแพ้ตัวยาอื่นใดได้บ้าง
  4. ในกรณีที่มีอาการแพ้อย่างรุนแรงเป็นประจำ ควรปรึกษาแพทย์ เพราะอาจจำเป็นต้องพกยาฉีดบางชนิดติดตัวเป็นประจำ เพื่อช่วยเหลือตัวเอง