ใส่ใจวัยใส |
| |
| |
คุณพ่อ คุณแม่หลายๆ คนที่มีลูกในช่วงวัยใส คงจะวุ่นวายใจและบางครั้งอาจจะรู้สึกยุ่งยากใจในการเลี้ยงดูลูกมากที่เดียว วัยใส หรือ วัยรุ่น เป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทางสภาพร่างกาย การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ซึ่งวัยนี้มีอารมณ์เปลี่ยนแปลงได้หลายรูปแบบ ซึมเศร้า วิตกกังวล ก้าวร้าวรวมทั้งอารมณ์ทางเพศซึ่งเป็นไปตามอารมณ์ตามธรรมชาติรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของจิตใจเนื่องจากมีความคิดความอ่านได้ลึกซึ้งมากขึ้น สังเกตตนเอง สิ่งแวดล้อม เพื่อนๆ ทำให้วัยรุ่นต้องการค้นหาเอกลักษณ์ของตนเองในด้านต่างๆ รวมทั้งเกิดความต้องการเป็นอิสระ ติดกลุ่มเพื่อนมากขึ้นอาจดูเหมือนเรียกร้องเอาแต่ใจตนเอง ทั้งนี้เพราะวัยรุ่นยังไม่ค่อยรู้จักความพอดี ไม่รู้จักประนีประนอม ซึ่งปัญหาต่างๆของวัยใสที่มักจะทำให้คุณพ่อ คุณแม่ยุ่งยากใจ เช่นปัญหาทางเพศ การมีแฟนในวัยเรียน การมีเพื่อนต่างเพศไม่เหมาะสม การมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น การทำแท้ง การติดโรคทางเพศสัมพันธ์ ความเบี่ยงเบนทางเพศหรือรักร่วมเพศการใช้โทรศัพท์-อินเตอร์เน็ตนาน ดื้อ เกเร ก้าวร้าว ใช้สารเสพติด ไม่ตั้งใจเรียน หนีเรียน หนีออกจากบ้าน ขาดความรับผิดชอบ ขโมย พูดปด อารมณ์หงุดหงิด ขึ้นๆ ลงๆ การพนัน หมกหมุ่นในเรื่องความอ้วน ความสวยความงาม ทำให้เกิดปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่และวัยรุ่นได้ |
| |
| |
จากปัญหาต่างๆ ข้างต้นจะเห็นได้ว่าวัยใส หรือวัยรุ่นจำเป็นต้องมีผู้คอยดูแลอาใจใส่อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พ่อ-แม่ที่ให้กำเนิดเขาขึ้นมา ที่จะต้องตอบสนองต่อความต้องการของเขา สิ่งที่วัยใส หรือ วัยรุ่น ต้องการจากพ่อ-แม่ อาทิ |
| |
| |
วัยรุ่นต้องการ...ความรัก พ่อแม่ทุกคนควรจำไว้ว่า “ การฆ่าคนด้วยวิธีการที่เลือดเย็นมากที่สุด คือ การไม่รักและการไม่แสดงออกซึ่งความรัก ” พ่อแม่ต้องยอมรับลูกในสภาพที่ลูกเป็น ทั้งในเรื่องที่น่าเศร้าและเรื่องที่น่ายินดี ความรักของพ่อและแม่ควรเป็นความรักที่ไม่มีเงื่อนไข ไม่นึกรังเกียรติเดียดฉันท์ หรือคอยตำหนิติเตียนลูกอยู่ตลอดเวลาแต่ควรชื่นชมในตัวลูกและพยายามชมเชยให้เขาเห็นคุณค่าในตัวเอง แค่ลูกสามารถสัมผัสถึงความรักความห่วงใยของพ่อและแม่ |
| |
| |
วัยรุ่นต้องการ … ความเข้าใจ พ่อแม่ต้องตระหนักว่ายามที่ลูกทำผิดเขาต้องการความรักความเข้าใจมากกว่าการซ้ำเติมเมื่อลูกทำผิดทั้งโดยตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจก็ตามเขาจะมีความกลัวถูกตำหนิเป็นทุนเดิมอยู่ในใจ หากพ่อแม่สำทับไปด้วยความเกรี้ยวกราด การดุด่าว่ากล่าวอย่างฉุนเฉียว เขาจะรู้สึกว่าไม่มีใครที่เข้าใจเห็นใจและปลอบประโลมเขา เขาจะรู้สึกหวาดกลัวในที่สุดก็จะเกิดความไม่มั่นคงใจจิตใจ หวาดหวั่นเกรงว่าจะไม่ได้รับการให้อภัย จนกลายเป็นคนที่เงียบขรึมไม่กล้าเปิดเผยความในใจ หรือ มี พฤติกรรมโกหก ก้าวร้าวและอาจนำไปสู่การเกลียดชังพ่อแม่ในที่สุด |
| |
| |
วัยรุ่นต้องการ … เวลา พ่อแม่บางคนอาจจะอ้างว่าเหนื่อยจากงาน อยากพักผ่อนไม่ให้ลูกมากวนใจหากตนเองไม่ว่างก็ไม่สนใจลูก พ่อแม่ควรเป็นคนที่ยินดีเมื่อลูกเข้ามาหา แบ่งเวลาให้กับลูกเสมอ ต้องแสดงออกอย่างกระตือรือร้นในการเห็นความสำคัญของลูก แม้ดูเหมือนว่าจะเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ |
| |
| |
วัยรุ่นต้องการ … การให้เกียรติ พ่อแม่พึงตระหนักว่า “ ลูกไม่ใช่ดินน้ำมันที่พ่อแม่อยากจะปั้นให้เขาเป็นอะไรก็ได้ตามใจชอบความสนใจที่แตกต่างไปจากพ่อแม่เสมอ ” พ่อแม่ควรเปิดโอกาสให้ลูกได้แสดงความคิดเห็น และเรียนรู้ที่จะให้เกียรติในความแตกต่างในตัวเขา ไม่ควรนำไปเปรียบเทียบกับคนอื่น พ่อแม่ควรสนับสนุนให้ลูกได้ใช้สิ่งที่ดีที่สุดถนัดที่สุดในชีวิตของเขา เพื่อให้เขาได้เรียนรู้ที่จะเชื่อมั่นในการตัดสินใจของตนเอง โดยที่ไม่พยายามไปบังคับให้ลูกต้องเป็นอย่างที่พ่อแม่อยากให้เป็น |
| |
| |
วัยรุ่นต้องการ … แบบอย่างชีวิตที่ดี วัยรุ่นมักจะมีความชื่นชมและเลียนแบบบุคคลที่เขาชื่นชอบและประทับใจพ่อแม่จึงควรชี้แนะให้ลูกเข้าใจในวิถีชีวิตบุคคลที่เขาชื่นชมและเลียนแบบ และที่สำคัญถึงพ่อแม่จะพร่ำสอนในสิ่งที่ดีเพียงใดก็ตาม แต่ลูกจะเลียนแบบชีวิตของพ่อแม่มากกว่าการทำตามคำพร่ำสอน ดังนั้นพ่อแม่ควรเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูก |
| |
| |
วัยรุ่นต้องการ … การชี้ผิดชี้ถูกอย่างมีเหตุผล พ่อแม่ควรสอนให้วันรุ่นให้รู้ผิด รู้ถูกด้วยเหตุผลไม่ใช่การออกคำสั่งด้วยอารมณ์ โยตระหนักว่าเขาต้องการความเข้าใจและเขาต้องตอบตัวเองได้ว่าเหตุใดเขาจึงทำสิ่งนี้ได้และเหตุใดเขาจึงทำสิ่งนี้ไม่ได้ จะทำให้เขาสามารถเรียนรู้ที่จะแยกแยะความผิดและสามารถตัดสินใจได้ด้วยตนเองอย่างมีเหตุผล |
| |
| |
จากการต้องการดังกล่าว พ่อแม่จึงควรมีเทคนิคที่เหมาะสมกับการดูแลวัยรุ่น คือ |
| |
| |
1. | รับฟังความคิดเห็น เหตุผล ให้มองโลกในแง่ดี และหาข้อดีในความคิดและเหตุผลของวัยรุ่นทั้งๆ ที่อาจไม่ตรงกับความคิดเห็นและเหตุผลพ่อแม่ก็ตาม |
| |
2. | ส่งเสริมความคิด การตัดสินใจ และพฤติกรรมที่ดีของเขาให้ชัดเจน เด่นชัด |
| |
3. | หลีกเลี่ยงการบังคับตรงๆ โดยเสนอแนะทางออกแบประนีประนอม โดยที่วัยรุ่นมีส่วนร่วม |
| |
4. | เปิดโอกาสให้ทดลอง หัดทำ ฝึกฝนจนเกิดทักษะภายใต้ขอบเขตที่เหมาะสมของการกระทำของเขา |
| |
5. | ยอมรับในข้อบกพร่องและความผิดพลาด ให้โอกาสแก้ตัวใหม่ภายใต้ขอบเขตที่เหมาะสม |
| |
6. | เพิ่มคุณภาพการสื่อสาร 2 ทางในครอบครัว และเรียนรู้ที่จะแสดงความเข้าใจในความคิด ค่านิยม ความชอบและอิทธิพลของกระแสวันรุ่น เพื่อจะส่งเสริมทำให้สื่อสารกับวัยรุ่นมากขึ้น |
| |
| |
เทคนิคที่ไม่เหมาะสมกับการดูแลวันรุ่น คือ |
| |
1. | จู้จี้ขี้บ่น จุกจิก จ้องจับผิด |
| |
2. | ไม่รับฟังเหตุผล หรือความทำท่าฟังแต่ไม่ใส่ใจ ยึดความคิดเห็นของผู้ใหญ่เพราะเห็นว่าตัวเองสำคัญกว่า มาประสบการณ์มากกว่า |
| |
3. | ใช้อำนาจ บังคับตรงๆ |
| |
4. | ลงโทษรุนแรง หรือทำให้อับอาย เสียหน้า หรือประจานความผิด หรือความคิดเห็นอาจไม่ดีเท่าไรต่อหน้าคนอื่น ทำให้เกิดความรู้สึกอับอาย |
| |
5. | ลงโทษไม่รู้จักจบ ยังพูดถึงความผิดเดิมๆ ซ้ำซากหรือฝังใจในความผิดพลาดว่าทำผิดซ้ำอีก |
| |
การที่พ่อแม่เรียนรู้และสามารถปรับตัว ปรับเทคนิควิธีการที่ใช้ให้เหมาะสมกับวัยของวัยรุ่นเพื่อเพิ่มคุณภาพการสื่อสาร รวมทั้งคาดหวังความรับผิดชอบจากวัยรุน ภายใต้บรรยากาศที่อบอุ่น มีความรัก ให้โอกาสฝึกฝน ทั้งที่กล่าวมาจะช่วยทำให้พ่อแม่พัฒนาวัยใส หรือ วัยรุ่นที่ให้อยู่ในทิศทางที่เหมาะสม และวัยรุ่นเองก็สามารถใช้พลังงานที่มีอยู่มากมาพัฒนาความสามารถของตนเองต่อไป และสามารถเกื้อกูลคนข้างในทางที่สร้างสรรค์ได้ |
| |
| |
| |
| |
| พันธ์ทิพย์ โกศัลวัฒน์ |
| พยาบาลวิชาชีพ |
| |
| |
| |
| แหล่งที่มา : บทความสุขภาพจิต โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ |