สาเหตุและอาการแพร่ระบาด |
|
โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส
โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรคนี้มาสู่คน เชื้อไวรัสที่ก่อโรคคือ |
เชื้อไวรัสเด็งกี่ ไข้เลือดออกพบมากในประเทศเขตร้อน เช่น
เวียตนาม กัมพูชา ไทย พม่า มาเลเวีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ |
และสิงคโปร์ |
|
โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปี
แต่มักจะระบาดมากในช่วงหน้าฝน เพราะยุงลาย ซึ่งเป็น |
พาหะของโรคมีจำนวนชุกชุม
ยุงลายตัวเมียจะวางไข่ในภาชนะที่มีน้ำขัง
เมื่อยุงไปกัดคนป่วยที่มีเชื้อไวรัสไข้เลือดออกอยู่ใน |
กระแสเลือดเชื้อไวรัสจะเข้าไปเจริญเติบโตเพิ่มจำนวนในเยื่อบุกระเพาะอาหาร
หลังจากนั้นจะเข้าไปสู่ต่อมน้ำลายของยุงและ |
พร้อมที่จะแพร่เชื้อเข้าสุ่คนที่ถูกกัดต่อไป
เชื้อไวรัสไข้เลือดออกนี้ จะอยู่ในตัวยุงลายได้ตลอดชีวิตของยุง |
|
อาการและการติดต่อ |
|
เมื่อยุงลายที่มีเชื้อไวรัสไข้เลือดออกไปกัดคน
เชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายจะใช้เวลาฟักตัวประมาณ 2 - 7 วัน
ปวดเมื่อย |
เนื้อตัวมีจุดแดงๆ
หรือจุดเลือดออกขึ้นตามตัวหรือแขนขา หน้าแดง ผิวหนังแดง เนื่องจากอาการทั่วๆ ไป
คล้ายกับเป็นหวัด |
เมื่อเด็กมีอาการเช่นนี้
พ่อแม่จึงมักคิดว่าเป็นไข้หวัดธรรมดาจนปล่อยให้อาการรุนแรง แต่สิ่งที่แตกต่างจากไข้หวัดก็คือ
จะไม่ไอ |
ไม่มีน้ำมูกเหมือนหวัด
บางคนที่อาการรุนแรงมักมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย
อาจมีเลือดกำเดาหรือเลือดออกตามไรฟัน |
มีอาการตับโตเมื่อกดจะเจ็บ
จนถึงมีอาการช็อกเนื่องจากมีการไหลเวียนของเลือดล้มเหลว |
|
อาการช็อกมักเกิดขึ้นพร้อมกับที่ไข้ลดลงอย่างรวดเร็ว
ผู้ป่วยจะมีอาการซึมลง มือเท้าเย็น ความดันโลหิตเปลี่ยน |
ตัวเย็น
ขอบปากเขียวแต่ยังมีสติพูดคุยได้ บางรายอาจมีการปวดท้องอย่างกระทันหัน
และอาจเสียชีวิตได้ภายใน 12-24 ชั่วโมง |
ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที |
|
การรักษา |
|
หลักการรักษาไข้เลือดออกคือ
การรักษาให้ทุเลาอาการและป้องกันการช็อก
เมื่อเด็กมีไข้สูงจะต้องป้องกันไม่ให้มี |
อาการชักจากไข้
ด้วยการเช็ดตัวและให้ยาลดไข้ ไม่ควรใช้ยาจำพวกแอสไพริน
เพราะจะทำใก้เกล็ดเลือดเสียการทำงาน จะ |
ระคายเคืองกระเพาะอาหารและทำให้เลือดออกง่าย
ควรให้ยาลดไข้จำพวกพาราเซตามอลจะปลอดภัยกว่า รวมทั้งการให้น้ำ |
เพื่อชดเชยน้ำที่ร่างกายเสียไปแก่ผู้ป่วย เช่น น้ำเปล่า น้ำผลไม้
น้ำเกลือแร่ โอ.อาร์.เอ โดยดื่มครั้งละน้อยๆ แต่ดื่มบ่อยๆ |
และควรกินอาหารอ่อนๆ เช่น โจ๊ก
หรือข้าวต้ม เป็นต้น |
|
กลุ่มที่เสี่ยงต่อโรค |
|
โรคไข้เลือดออกมักพบในเด็ก
โดยสามารถเกิดกับเด็กช่วงอายุตั้งแต่ 4 เดือน จนถึงวัยรุ่น สำหรับเด็กโต
และผู้ใหญ่ |
ส่วนมากจะมีภูมิคุ้มกันต่อโรคนี้แล้ว
แต่ก็สามารถเป็๋นโรคไข้เลือดออกได้
ถ้าถูกยุงลายที่มีเชื้อไวรัสไข้เลือดออกกัด |
|
|
|
การป้องกันและควบคุม |
|
การป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ดีที่สุดคือ
การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะนำโรคนี้
โดยกำจัดลูกน้ำ |
ในภาชนะต่างๆ ที่มีน้ำขัง
ด้วยการปิดฝาภาชนะเก็บน้ำให้มิดชิด เช่น โอ่ง ถังเก็บน้ำ หมั่นเปลี่ยน
หรือทิ้งน้ำในภาชนะบรรจุน้ำ |
และภาชนะที่มีน้ำขัง
เพื่อป้องกันยุงมาวางไข่เช่น แจกัน จานรองกระถางต้นไม้ ถ้วยหล่อขาตู้กับข้าว
เก็บทำลายเศษวัสดุ เช่น |
ขวด กระป๋อง ฯลฯ
เพื่อไม่ให้รองรับน้ำได้ ตัดต้นไม้ที่รกครึ้ม
เพื่อให้มีแสงสว่างและอากาศถ่ายเทได้ดี และการเลี้ยงปลากิน |
ลูกน้ำไว้ในโอ่ง
หรือบ่อที่ใส่น้ำใช้ |
|
นอกจากทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายแล้ว
จะต้องป้องกันตัวเองไม่ให้ยุงลายกัด ด้วยการดูแลหน้าต่าง ประตู ช่องลม
|
ไม่ให้ยุงเข้า
จัดข้าวของในบ้านไม่ให้กองสุมกัน รวมถึงเลือกใช้ผลิตภัณฑ์กำจัดยุง
และทากันยุงให้ถูกต้อง |
|
|
|