ความรู้เรื่องโรคมือ
เท้า ปาก
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี
19
กรกฎาคม 2555
โรคมือ
เท้า ปาก เป็นกลุ่มอาการหนึ่งของโรคติดเชื้อเอนเทอโรไวรัส เกิดจากเชื้อไวรัส
โรคนี้พบบ่อยในเด็กทารกและเด็กเล็ก
เนื่องจากผู้ใหญ่มักมีภูมิต้านทานแล้วหรือไม่แสดงอาการ
เชื้อสาเหตุ
โรคนี้เกิดจากเชื้อเอนเทอโรไวรัสมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด สามารถแพร่ติดต่อจากผู้ป่วย โดยการไอจามรดกัน
หรือจากของเล่น ของใช้ที่ปนเปื้อนน้ำมูกน้ำลายหรือน้ำตุ่มแผลตามมือ เท้า
และปาก
ช่องทางสำคัญคือมือที่ปนเปื้อนอุจจาระของผู้ป่วย เชื้อเข้าสู่ร่างกายทางปาก
อาการ หลังจากได้รับเชื้อประมาณ
3 – 5 วัน ผู้ป่วยจะเริ่มมีไข้ต่ำๆ
อ่อนเพลีย ต่อมา มีอาการเจ็บปาก ไม่ยอมดื่มนมหรือทานอาหาร เพราะมีตุ่มพองใสรอบๆ
แดงอักเสบที่ลิ้น เหงือกและกระพุ้งแก้ม ตุ่มพองนี้มักจะพบตามฝ่ามือ นิ้วมือ
ฝ่าเท้าและก้น อาการจะค่อยๆทุเลาและหายเป็นปกติภายใน 7 – 10
วัน
โดยทั่วไปโรคมือ เท้า ปากในประเทศไทยเป็นเชื้อชนิดที่มีอาการไม่รุนแรง แต่ถ้าเป็นเชื้อชนิดรุนแรง (กรณีเกิดที่ประเทศกัมพูชา)
อาจเกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ สมองอักเสบ อัมพาตกล้ามเนื้อหรือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
และเสียชีวิตได้
การป้องกันโรค
สถานรับเลี้ยงเด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาล
1.ผู้ประกอบการในสถานเลี้ยงเด็กควรดูแลให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานด้านสุขลักษณะของสถานที่อย่างสม่ำเสมอ
เช่น การเช็ดถูอุปกรณ์เครื่องเรือน เครื่องเล่น หรืออุปกรณ์การเรียนการสอนต่าง ๆ
ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคเป็นประจำ รวมทั้งการกำจัดอุจจาระปัสสาวะให้ถูกต้อง
2.พี่เลี้ยงและเด็กควรตัดเล็บให้สั้น
หมั่นล้างมือบ่อยๆ โดยเฉพาะหลังการขับถ่ายหรือเปลี่ยนผ้าอ้อม
ก่อนเตรียมและป้อนอาหารให้เด็ก ตลอดจนหลังการสัมผัสน้ำมูกน้ำลายเด็ก
3.สอนให้เด็กล้างมือทุกครั้งหลังจากขับถ่าย ใช้ช้อนกลางและหลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของ เช่น แก้วน้ำ
3.สอนให้เด็กล้างมือทุกครั้งหลังจากขับถ่าย ใช้ช้อนกลางและหลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของ เช่น แก้วน้ำ
หรือหลอดดูดน้ำร่วมกัน
4.ผู้ดูแลสระว่ายน้ำควรรักษาสุขลักษณะของสถานที่ โดยตรวจวัดและรักษาปริมาณคลอรีนคงเหลือไม่น้อยกว่า 0.5-1.0 มิลลิกรัมต่อลิตร
5. ควรหยุดใช้เครื่องปรับอากาศ
เปิดม่านให้แสงแดดจัดๆ ส่องถึงภายในห้อง ในบางช่วงของวัน
6.หากพบเด็กป่วย ควรแนะนำให้ผู้ปกครองพาเด็กไปพบแพทย์และหยุดรักษาตัวที่บ้าน ประมาณ 5 ถึง 7 วัน หรือจนกว่าจะหายเป็นปกติ เพื่อป้องกันการแพร่โรคไปยังเด็กอื่นๆ
6.หากพบเด็กป่วย ควรแนะนำให้ผู้ปกครองพาเด็กไปพบแพทย์และหยุดรักษาตัวที่บ้าน ประมาณ 5 ถึง 7 วัน หรือจนกว่าจะหายเป็นปกติ เพื่อป้องกันการแพร่โรคไปยังเด็กอื่นๆ
ข้อแนะนำแก่พ่อแม่และผู้ดูแลเด็ก
1.หากรู้สึกเจ็บป่วย แม้เพียงเล็กน้อย
ต้องไม่คลุกคลีใกล้ชิดหรือดูแลเด็ก หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย
และระมัดระวังการไอจามรดกัน ให้ใช้ผ้าปิดปากปิดจมูก
2.รักษาสุขอนามัยส่วนตัวอย่างเคร่งครัด
หมั่นล้างมือบ่อยๆ
โดยเฉพาะหลังการขับถ่ายหรือเปลี่ยนผ้าอ้อม ก่อนเตรียมและป้อนอาหารให้เด็ก
3.ไม่ใช้ภาชนะในการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำ
เช่น จาน ชาม ช้อน แก้วน้ำ หรือหลอดดูดร่วมกัน และใช้ช้อนกลางในการตักอาหาร
4.ไม่ควรนำเด็กเล็กไปในที่สาธารณะที่มีคนอยู่เป็นจำนวนมาก ๆ เช่น
ห้างสรรพสินค้า สนามเด็กเล่น ตลาดนัด และสระว่ายน้ำ
ควรอยู่ในที่ที่มีการระบายถ่ายเทอากาศได้ดี
การดูแลรักษาผู้ป่วย
1.โรคนี้ไม่มียารักษาโรคโดยเฉพาะ
แพทย์จะให้ยารักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ ยาทาแก้ปวด ควรเช็ดตัวลดไข้
2.ให้เด็กรับประทานอาหารอ่อนๆ รสไม่จัด ไม่ร้อนมากเพราะจะเจ็บปาก
ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำ น้ำผลไม้ และนอนพักผ่อนมากๆ
และอาจต้องป้อนนมให้ทารกแทนการดูดจากขวด
3.หากอาการผู้ป่วยไม่ดีขึ้น
เช่นมีไข้สูง 2-3 วัน ซึม ไม่ยอมทานอาหารหรือดื่มนม อาเจียน หอบ แขนขา อ่อนแรง เป็นต้น ต้องรีบพาผู้ป่วยไปโรงพยาบาลทันทีเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงและป้องกันการเสียชีวิต
ที่มา : http://www.youtube.com/user/Achibimaru