วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

โครงการเด็กไทยดูดี-น้ำเปล่า



ที่มา : http://www.youtube.com/user/dekthaidoodee

ความรู้เรื่องไข้เลือดออก




โรคไข้เลือดออก (Dengue Haemorrhagic Fever)
สาเหตุและอาการแพร่ระบาด
โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรคนี้มาสู่คน เชื้อไวรัสที่ก่อโรคคือ
เชื้อไวรัสเด็งกี่ ไข้เลือดออกพบมากในประเทศเขตร้อน เช่น เวียตนาม กัมพูชา ไทย พม่า มาเลเวีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์
และสิงคโปร์
โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปี แต่มักจะระบาดมากในช่วงหน้าฝน เพราะยุงลาย ซึ่งเป็น
พาหะของโรคมีจำนวนชุกชุม ยุงลายตัวเมียจะวางไข่ในภาชนะที่มีน้ำขัง เมื่อยุงไปกัดคนป่วยที่มีเชื้อไวรัสไข้เลือดออกอยู่ใน
กระแสเลือดเชื้อไวรัสจะเข้าไปเจริญเติบโตเพิ่มจำนวนในเยื่อบุกระเพาะอาหาร หลังจากนั้นจะเข้าไปสู่ต่อมน้ำลายของยุงและ
พร้อมที่จะแพร่เชื้อเข้าสุ่คนที่ถูกกัดต่อไป เชื้อไวรัสไข้เลือดออกนี้ จะอยู่ในตัวยุงลายได้ตลอดชีวิตของยุง
อาการและการติดต่อ
เมื่อยุงลายที่มีเชื้อไวรัสไข้เลือดออกไปกัดคน เชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายจะใช้เวลาฟักตัวประมาณ 2 - 7 วัน ปวดเมื่อย
เนื้อตัวมีจุดแดงๆ หรือจุดเลือดออกขึ้นตามตัวหรือแขนขา หน้าแดง ผิวหนังแดง เนื่องจากอาการทั่วๆ ไป คล้ายกับเป็นหวัด
เมื่อเด็กมีอาการเช่นนี้ พ่อแม่จึงมักคิดว่าเป็นไข้หวัดธรรมดาจนปล่อยให้อาการรุนแรง แต่สิ่งที่แตกต่างจากไข้หวัดก็คือ จะไม่ไอ
ไม่มีน้ำมูกเหมือนหวัด บางคนที่อาการรุนแรงมักมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย อาจมีเลือดกำเดาหรือเลือดออกตามไรฟัน
มีอาการตับโตเมื่อกดจะเจ็บ จนถึงมีอาการช็อกเนื่องจากมีการไหลเวียนของเลือดล้มเหลว
อาการช็อกมักเกิดขึ้นพร้อมกับที่ไข้ลดลงอย่างรวดเร็ว ผู้ป่วยจะมีอาการซึมลง มือเท้าเย็น ความดันโลหิตเปลี่ยน
ตัวเย็น ขอบปากเขียวแต่ยังมีสติพูดคุยได้ บางรายอาจมีการปวดท้องอย่างกระทันหัน และอาจเสียชีวิตได้ภายใน 12-24 ชั่วโมง
ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
การรักษา
หลักการรักษาไข้เลือดออกคือ การรักษาให้ทุเลาอาการและป้องกันการช็อก เมื่อเด็กมีไข้สูงจะต้องป้องกันไม่ให้มี
อาการชักจากไข้ ด้วยการเช็ดตัวและให้ยาลดไข้ ไม่ควรใช้ยาจำพวกแอสไพริน เพราะจะทำใก้เกล็ดเลือดเสียการทำงาน จะ
ระคายเคืองกระเพาะอาหารและทำให้เลือดออกง่าย ควรให้ยาลดไข้จำพวกพาราเซตามอลจะปลอดภัยกว่า รวมทั้งการให้น้ำ
เพื่อชดเชยน้ำที่ร่างกายเสียไปแก่ผู้ป่วย เช่น น้ำเปล่า น้ำผลไม้ น้ำเกลือแร่ โอ.อาร์.เอ โดยดื่มครั้งละน้อยๆ แต่ดื่มบ่อยๆ
และควรกินอาหารอ่อนๆ เช่น โจ๊ก หรือข้าวต้ม เป็นต้น
กลุ่มที่เสี่ยงต่อโรค
โรคไข้เลือดออกมักพบในเด็ก โดยสามารถเกิดกับเด็กช่วงอายุตั้งแต่ 4 เดือน จนถึงวัยรุ่น สำหรับเด็กโต และผู้ใหญ่
ส่วนมากจะมีภูมิคุ้มกันต่อโรคนี้แล้ว แต่ก็สามารถเป็๋นโรคไข้เลือดออกได้ ถ้าถูกยุงลายที่มีเชื้อไวรัสไข้เลือดออกกัด
การป้องกันและควบคุม
การป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ดีที่สุดคือ การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะนำโรคนี้ โดยกำจัดลูกน้ำ
ในภาชนะต่างๆ ที่มีน้ำขัง ด้วยการปิดฝาภาชนะเก็บน้ำให้มิดชิด เช่น โอ่ง ถังเก็บน้ำ หมั่นเปลี่ยน หรือทิ้งน้ำในภาชนะบรรจุน้ำ
และภาชนะที่มีน้ำขัง เพื่อป้องกันยุงมาวางไข่เช่น แจกัน จานรองกระถางต้นไม้ ถ้วยหล่อขาตู้กับข้าว เก็บทำลายเศษวัสดุ เช่น
ขวด กระป๋อง ฯลฯ เพื่อไม่ให้รองรับน้ำได้ ตัดต้นไม้ที่รกครึ้ม เพื่อให้มีแสงสว่างและอากาศถ่ายเทได้ดี และการเลี้ยงปลากิน
ลูกน้ำไว้ในโอ่ง หรือบ่อที่ใส่น้ำใช้
นอกจากทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายแล้ว จะต้องป้องกันตัวเองไม่ให้ยุงลายกัด ด้วยการดูแลหน้าต่าง ประตู ช่องลม
ไม่ให้ยุงเข้า จัดข้าวของในบ้านไม่ให้กองสุมกัน รวมถึงเลือกใช้ผลิตภัณฑ์กำจัดยุง และทากันยุงให้ถูกต้อง



ที่มา : http://www.youtube.com/user/rutpainter
ที่มา : http://dpc5.ddc.moph.go.th/Knowledge/dhf.html

โรคมือเท้าปาก




ความรู้เรื่องโรคมือ เท้า ปาก
                                                                  สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี
                                                                                                     19 กรกฎาคม 2555
           โรคมือ เท้า ปาก เป็นกลุ่มอาการหนึ่งของโรคติดเชื้อเอนเทอโรไวรัส   เกิดจากเชื้อไวรัส โรคนี้พบบ่อยในเด็กทารกและเด็กเล็ก  เนื่องจากผู้ใหญ่มักมีภูมิต้านทานแล้วหรือไม่แสดงอาการ 
            เชื้อสาเหตุ   โรคนี้เกิดจากเชื้อเอนเทอโรไวรัสมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด  สามารถแพร่ติดต่อจากผู้ป่วย โดยการไอจามรดกัน หรือจากของเล่น ของใช้ที่ปนเปื้อนน้ำมูกน้ำลายหรือน้ำตุ่มแผลตามมือ เท้า และปาก  ช่องทางสำคัญคือมือที่ปนเปื้อนอุจจาระของผู้ป่วย เชื้อเข้าสู่ร่างกายทางปาก
            อาการ  หลังจากได้รับเชื้อประมาณ 3 5 วัน  ผู้ป่วยจะเริ่มมีไข้ต่ำๆ อ่อนเพลีย ต่อมา มีอาการเจ็บปาก ไม่ยอมดื่มนมหรือทานอาหาร เพราะมีตุ่มพองใสรอบๆ แดงอักเสบที่ลิ้น เหงือกและกระพุ้งแก้ม ตุ่มพองนี้มักจะพบตามฝ่ามือ นิ้วมือ ฝ่าเท้าและก้น อาการจะค่อยๆทุเลาและหายเป็นปกติภายใน 7 10 วัน
            โดยทั่วไปโรคมือ เท้า ปากในประเทศไทยเป็นเชื้อชนิดที่มีอาการไม่รุนแรง  แต่ถ้าเป็นเชื้อชนิดรุนแรง (กรณีเกิดที่ประเทศกัมพูชา) อาจเกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ สมองอักเสบ อัมพาตกล้ามเนื้อหรือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และเสียชีวิตได้
การป้องกันโรค

        สถานรับเลี้ยงเด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาล
           1.ผู้ประกอบการในสถานเลี้ยงเด็กควรดูแลให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานด้านสุขลักษณะของสถานที่อย่างสม่ำเสมอ เช่น การเช็ดถูอุปกรณ์เครื่องเรือน เครื่องเล่น หรืออุปกรณ์การเรียนการสอนต่าง ๆ ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคเป็นประจำ รวมทั้งการกำจัดอุจจาระปัสสาวะให้ถูกต้อง
            2.พี่เลี้ยงและเด็กควรตัดเล็บให้สั้น หมั่นล้างมือบ่อยๆ โดยเฉพาะหลังการขับถ่ายหรือเปลี่ยนผ้าอ้อม ก่อนเตรียมและป้อนอาหารให้เด็ก   ตลอดจนหลังการสัมผัสน้ำมูกน้ำลายเด็ก
           3.สอนให้เด็กล้างมือทุกครั้งหลังจากขับถ่าย ใช้ช้อนกลางและหลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของ เช่น แก้วน้ำ
หรือหลอดดูดน้ำร่วมกัน
           4.ผู้ดูแลสระว่ายน้ำควรรักษาสุขลักษณะของสถานที่ โดยตรวจวัดและรักษาปริมาณคลอรีนคงเหลือไม่น้อยกว่า 0.5-1.0 มิลลิกรัมต่อลิตร
           5. ควรหยุดใช้เครื่องปรับอากาศ เปิดม่านให้แสงแดดจัดๆ ส่องถึงภายในห้อง ในบางช่วงของวัน
          6.หากพบเด็กป่วย ควรแนะนำให้ผู้ปกครองพาเด็กไปพบแพทย์และหยุดรักษาตัวที่บ้าน ประมาณ 5 ถึง 7 วัน หรือจนกว่าจะหายเป็นปกติ  เพื่อป้องกันการแพร่โรคไปยังเด็กอื่นๆ  
         ข้อแนะนำแก่พ่อแม่และผู้ดูแลเด็ก
         1.หากรู้สึกเจ็บป่วย แม้เพียงเล็กน้อย ต้องไม่คลุกคลีใกล้ชิดหรือดูแลเด็ก หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย และระมัดระวังการไอจามรดกัน ให้ใช้ผ้าปิดปากปิดจมูก
            2.รักษาสุขอนามัยส่วนตัวอย่างเคร่งครัด    หมั่นล้างมือบ่อยๆ    โดยเฉพาะหลังการขับถ่ายหรือเปลี่ยนผ้าอ้อม   ก่อนเตรียมและป้อนอาหารให้เด็ก
            3.ไม่ใช้ภาชนะในการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำ เช่น จาน ชาม ช้อน แก้วน้ำ หรือหลอดดูดร่วมกัน และใช้ช้อนกลางในการตักอาหาร
           4.ไม่ควรนำเด็กเล็กไปในที่สาธารณะที่มีคนอยู่เป็นจำนวนมาก ๆ เช่น ห้างสรรพสินค้า สนามเด็กเล่น ตลาดนัด และสระว่ายน้ำ ควรอยู่ในที่ที่มีการระบายถ่ายเทอากาศได้ดี

การดูแลรักษาผู้ป่วย
           1.โรคนี้ไม่มียารักษาโรคโดยเฉพาะ แพทย์จะให้ยารักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ ยาทาแก้ปวด ควรเช็ดตัวลดไข้
           2.ให้เด็กรับประทานอาหารอ่อนๆ รสไม่จัด ไม่ร้อนมากเพราะจะเจ็บปาก ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำ น้ำผลไม้ และนอนพักผ่อนมากๆ และอาจต้องป้อนนมให้ทารกแทนการดูดจากขวด
      3.หากอาการผู้ป่วยไม่ดีขึ้น เช่นมีไข้สูง 2-3 วัน ซึม ไม่ยอมทานอาหารหรือดื่มนม อาเจียน หอบ แขนขา อ่อนแรง เป็นต้น  ต้องรีบพาผู้ป่วยไปโรงพยาบาลทันทีเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงและป้องกันการเสียชีวิต



ที่มา : http://www.youtube.com/user/Achibimaru

แปรงฟัน 12 ด้าน



ที่มา : http://www.youtube.com/user/hpuchula