วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2559

วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2559

5ป ปราบยุงลาย ป้องกันไข้เลือดออก

5ป ปราบยุงลาย ป้องกันไข้เลือดออก ได้แก่
       ป1 ปิด ภาชนะเก็บกักน้ำให้มิดชิด
       ป2 เปลี่ยน น้ำในภาชนะต่าง ๆ ทุก 7 วัน เพื่อตัดวงจรลูกน้ำ
       ป3 ปล่อย ปลากินลูกน้ำในภาชนะใส่น้ำถาวร เช่น อ่างบัว
       ป4 ปรับปรุง สิ่งแวดล้อมให้โปร่งลมพัดผ่านได้ไม่ให้ยุงมาเกาะพัก
       ป5 ปฏิบัติ ตามทั้ง 4ป ข้างตนเป็นประจำจนเป็นนิสัย


ขอบคุณข้อมูลจาก รพ.วิภาวดี , http://www.vibhavadi.com/health797.html

วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2559

5 วิธีสังเกต ยาหมดอายุ

               การดูว่า ยาหมดอายุ หรือไม่นั้น เริ่มแรก คือดูวันหมดอายุของยาที่ระบุไว้บนฉลากยา และถ้ายานั้นไม่มีวันบอกหมดอายุ อาจดูจากวันเดือนปีที่ผลิต ซึ่งทั่วๆ ไป เราถือว่า หากเป็นยาน้ำจะเก็บไว้ได้ประมาณ 3 ปีนับจากวันผลิต และหากเป็นยาเม็ดจะเก็บไว้ได้ 5 ปีค่ะ และถ้าเป็นยาหยอดตาหากเปิดใช้แล้วเก็บไว้ได้เพียงหนึ่งเดือน  อ่านต่อที่นี้


ขอบคุณที่มาจาก : http://health.mthai.com/howto/3287.html และนิตยสารชีวจิตฉบับที่ 199

วันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559

โรคไข้หวัดใหญ่ (Seasonal Influenza)

ความรู้เกี่ยวกับไข้หวัดใหญ่

          ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ (H1N1)หรือไข้หวัดใหญ่ 2009 เริ่มพบเมื่อปี พ.ศ. 2552 หรือ ค.ศ. 2009 ที่ประเทศเม็กซิโกและสหรัฐอเมริกา ต่อมาได้แพร่ออกไปยังอีกหลายประเทศทั่วโลก ปัจจุบันได้กลายเป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล(Seasonal Influenza)ที่พบปะปนกับสายพันธุ์ต่างๆ ทั่วไป ซึ่งมักพบมากในช่วงฤดูหนาว
           จากข้อมูลเฝ้าระวังโรคจากทุกจังหวัดในประเทศไทย ของสำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุขตั้งแต่ 1 มกราคม – 10 ตุลาคม พ.ศ. 2559 พบผู้ป่วย 115,978 ราย มีผู้เสียชีวิต 22 ราย จังหวัดที่มีอัตราป่วยต่อแสนประชากรสูงสุด 5 อันดับแรกคือ กรุงเทพมหานคร อุตรดิตถ์ เชียงใหม่ พะเยา ระยอง  

เชื้อสาเหตุ

เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza virus) โดยเชื้อไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล สามารถจำแนกออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่ ชนิดเอ บี และซี โดยที่พบมากที่สุด คือ ไข้หวัดใหญ่ ชนิดเอ (H1N1) (H3N2) รองลงมาได้แก่ ชนิด บี และซี

การแพร่ติดต่อ

เชื้อไวรัสที่อยู่ในเสมหะ น้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหะของผู้ป่วย แพร่ติดต่อไปยังคนอื่น ๆ ได้ง่าย เช่น การไอหรือจามรดกัน หรือหายใจเอาฝอยละอองเข้าไป หากอยู่ใกล้ผู้ป่วยในระยะ 1 เมตร บางรายได้รับเชื้อทางอ้อมผ่านทางมือหรือสิ่งของเครื่องใช้ที่ปนเปื้อนเชื้อ เช่น แก้วน้ำ ลูกบิดประตู โทรศัพท์ ผ้าเช็ดมือ เป็นต้น เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางจมูก ตา ปาก
ในผู้ใหญ่อาจแพร่เชื้อได้นานประมาณ 3-5 วัน นับจากเริ่มป่วย ในเด็กเล็กสามารถแพร่ได้นานกว่าผู้ใหญ่ อาจพบได้ 7-10 วัน และอาจนานขึ้นไปอีก ในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องอย่างรุนแรง

อาการป่วย

มักจะเกิดขึ้นทันทีทันใดด้วยอาการไข้สูง ตัวร้อน หนาว ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อมาก โดยเฉพาะที่หลัง ต้นแขน ต้นขา ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คัดจมูก มีน้ำมูกใสๆ ไอแห้งๆ โดยในเด็กอาจพบอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วงได้มากกว่าผู้ใหญ่ ส่วนอาการคัดจมูก จาม เจ็บคอ พบเป็นบางครั้งในไข้หวัดใหญ่ แต่จะพบในไข้หวัดมากกว่า
ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง หายป่วยได้โดยไม่ต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล อาการจะทุเลาและหายป่วยภายใน 5 – 7 วัน แต่บางรายที่มีอาการปอดอักเสบ รุนแรง จะพบอาการหายใจเร็ว เหนื่อย หอบ หายใจลำบาก ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้

การรักษา

โรคไข้หวัดใหญ่สามารถรักษาได้ ซึ่งโดยมากเป็นการรักษาตามอาการ แต่ในรายที่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ เช่น ในกลุ่มเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรง แพทย์จะมีการพิจารณาให้ยาต้านไวรัสโรคไข้หวัดใหญ่ คือ ยาโอลเซลทามิเวียร์ (oseltamivir)  ทั้งนี้ในกลุ่มเสี่ยงป่วยรุนแรง หากมีอาการสงสัยไข้หวัดใหญ่ เช่น เป็นไข้ ปวดเมื่อยตามตัว เจ็บคอ ไอ มีน้ำมูก ให้รีบมาพบแพทย์เข้ารับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ ส่วนบุคคลทั่วไปหากมีอาการป่วยและอาการไม่ดีขึ้นใน 2 วัน ให้รีบพบแพทย์เพื่อรับการรักษา
ผู้ป่วยที่มีอาการเล็กน้อย เช่น มีไข้ต่ำ ๆ และยังรับประทานอาหารได้ อาจไปพบแพทย์ หรือขอรับยาและคำแนะนำจากเภสัชกรใกล้บ้าน และดูแลรักษากันเองที่บ้านได้ ดังนี้
  • นอนหลับพักผ่อนมาก ๆ ในห้องที่อากาศถ่ายเทดี ไม่ควรออกกำลังกาย
  • ให้ดื่มน้ำเกลือแร่ น้ำผลไม้ มากๆ งดดื่มน้ำเย็น
  • รักษาตามอาการ หากมีไข้ให้ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัว หากไข้ไม่ลดให้รับประทานยาลดไข้ เช่น พาราเซตามอล ห้ามใช้ยาแอสไพริน หากทานยาแล้วอาการไม่ดีขึ้น ภายใน 2 วัน ควรรีบพบแพทย์
  • พยายามรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ไข่ ผัก ผลไม้ เป็นต้น
 


                        http://beid.ddc.moph.go.th/beid_2014/th/diseases/253

วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2559

เตือน 6 โรคที่มากับหน้าฝน


                   โรคหน้าฝน 6 โรคฮิตที่พบได้บ่อย ๆ ในช่วงหน้าฝนนี้ คือ โรคจากไวรัส คอติดเชื้อ ฉี่หนู อาหารเป็นพิษ ผิวหนังอักเสบ ไข้เลือดออก แพทย์แนะกินผัดผักบุ้ง แกงส้มมะละกอ น้ำเสาวรส ปรับสมดุลสุขภาพ


ขอบคุณข้อมูลจาก  http://phuchiangta.com/news_show.php?id_news=22

วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2559

วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2559

วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ขอประชาสัมพันธ์การสมัครเรียนคอมพิวเตอร์สำหรับคนพิการ

               ด้วยมูลนิธิส่งเสริมและพัฒนาคนพิการ ขอความอนุเคราะห์ประชาสัมพันธ์การสมัครเรียนคอมพิวเตอร์สำหรับคนพิการ จำนวน 2 หลักสูตร โดยผู้พิการไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น หมดเขตรับสมัคร ในวันที่ 30 กันยายน 2559 รายละเอียดดังนี้

วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ประชาสัมพันธ์บริจาคโลหิต

                ด้วย กาชาดจังหวัดอุดรธานี มีกำหนดการรับบริจาคโลหิต อำเภอเพ็ญ ในวันอังคาร ที่ 9 สิงหาคม 2559 เวลา 08.00 น - 12.00 น. ณ หอประชุมที่ว่าการอำเภอเพ็ญ จึงขอประชาสัมพันธ์ ประชาชนผู้สนใจร่วมบริจาคในครั้งนี้

คำขวัญวันแม่ 2559

วันแม่แห่งชาติ 2559

              วันแม่แห่งชาติปี 2559 นี้ตรงกับวันศุกร์ 12 สิงหาคม 2559 และเป็นปีมหามงคลยิ่ง   เนื่องจากสมเด็จพระบรมราชินีนารถ ทรงมีพระชนมายุครบ 83 พรรษา




               วันแม่แห่งชาติ เป็นวันที่ทางราชการกำหนดในวันที่ 12 สิงหาคม ของทุกปี และถือว่าเป็นวันสำคัญยิ่งของปวงชนชาวไทย โดยกำหนดให้ถือว่า “ดอกมะลิ” สีขาวบริสุทธิ์เป็นสัญลักษณ์ของความดีงามของแม่ผู้ให้กำเนิดแก่เรา

สัญลักษณ์ประจำวันแม่

ดอกมะลิ ดอกไม้สัญลักษณ์ประจำวันแม่
ดอกไม้วันแม่

ที่มา : 1. http://www.tlcthai.com/education/history-of-thailand/4499.html
         2. http://scoop.mthai.com/motherday


วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

การลวกผักให้ได้คุณค่าสารอาหาร

          เมื่อล้างผักให้สะอาดแล้ว หากต้องการลวกผักเพื่อกินกับน้ำพริกเพื่อไม่ให้ผักเสียคุณค่าทางอาหารมีส่วนสำคัญ เคล็ดลับติดตัวง่ายๆ คือ น้ำน้อย ไฟแรง

ขั้นตอนแรก
         ล้างผักให้สะอาด แยกผักออกเป็นส่วนที่สุกยากเช่น ต้น ก้าน และส่วนที่สุกง่ายเช่น ใบ ยอด ดอก
ขั้นตอนต่อไป
         ตั้งน้ำให้เดือด พยายามใส่น้ำให้น้อยที่สุด หรือพอให้ท่วมผักเมื่อใส่ลงไปในหม้อแล้ว (เพื่อถนอมคุณค่าทางอาหารของใบเขียว) ต้มน้ำให้เดือด ใส่เกลือ และน้ำมันอย่างละประมาณ 1 ช้อนชา (เกลือทำให้ผักมีรสชาติ น้ำมันทำให้ผักมีสีเขียว)
ขั้นที่สาม
         เร่งไฟแรง ใส่ผักลงไปต้ม โดยใส่ส่วนที่สุกยากก่อน สักพักแล้วค่อยตามด้วยส่วนที่สุกง่าย
ขั้นสุดท้าย
         เมื่อผักสุกใบเปลี่ยนเป็นสีเขียวสม่ำเสมอ ให้ตักผักขึ้นแช่ในน้ำแข็งทันที คลุกเคล้าผักกับน้ำแข็งเบาๆเพื่อให้ผักคายความร้อน ไม่สุกต่อ ถ้าไม่แช่น้ำแข็งจะทำให้ผักนิ่ม ไม่กรุบกรอบ และจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล หรือเขียวคล้ำไม่น่ากิน
"เพียงเท่านี้ผักลวกของคุณก็จะเขียว กรอบ น่ารับประทานแล้วคะ"

ขอบคุณข้อมูลจาก Secret Magazine (Thailand) , http://share.psu.ac.th/blog/soda51/38083

วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2559

กินผักให้ปลอดภัยและได้คุณค่าสารอาหาร

เป็นที่ทราบแล้วว่าผักอุดมไปด้วยแคลเซี่ยม วิตามิน แร่ธาตุ ใยอาหาร ที่สำคัญต่อร่างกาย แล้วแต่ว่าผักแต่ละชนิดจะให้คุณประโยชน์อย่างไร   ผักแต่ละสีให้คุณค่าสารอาหารที่แตกต่างกัน ดังนี้




ขอบคุณข้อมูลจาก Secret Magazine (Thailand) , http://share.psu.ac.th/blog/soda51/38083

วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

5 วิธีล้างผัก ลดสารพิษตกค้าง

               การล้างผักที่ดีจะช่วยให้เราปลอดภัยจากสารเคมีที่ปนเปื้อนหรือตกค้างในผัก ทำให้เรากินผักได้อย่างปลอดภัย  "ควรล้างผักผ่านน้ำไหล และแช่ผักทิ้งไว้ซักครู่ จะใช้วิธีไหนเลือกตามภาพค่ะ"


ขอบคุณข้อมูลจาก 1. Secret Magazine (Thailand)
                       2. http://share.psu.ac.th/blog/soda51/38083

วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2559

การล้างกระติกน้ำร้อน

ล้างกระติกน้ำร้อนครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่... 
             เชื่อว่าหลายท่านอาจมองข้ามสิ่งเล็ก ๆ เหล่านี้ไป เมื่อเวลาผ่านไปนานหลายปีไม่เคยคิดที่จะเปิดดูเลยว่าด้านในนั้นมีสภาพเป็นอย่างไร เนื่องจากมีความเชื่อว่าน้ำที่ถูกต้มอยู่ทุกวันนั้นผ่านความร้อนมาแล้ว ทำให้น้ำสะอาดปราศจากเชื้อโรค แต่สิ่งที่สะสมหมักหมมมานานหลายปีจนเกิดเป็นคราบสามารถทำให้ชีวิตคุณเปลี่ยนได้เช่นกัน คราบนั้นมีชื่อว่า“ตะกรัน” ตะกรันเกิดจากการรวมตัวของแคลเซียมในน้ำจนเกิดเป็นฝ้าสีขาวที่มีน้ำหนักมากกว่าน้ำ ฝ้าเหล่านี้เมื่อผ่านความร้อนอย่างต่อเนื่องจะเกิดการสะสมจนจับตัวกันแน่น และกลายเป็นผลึกปูนหรือคราบหินปูนในที่สุด และเมื่อเราดื่มน้ำที่ผ่านตะกรันเป็นเวลาต่อเนื่องกัน อาจก่อให้เกิดปัญหาเรื่องโรคนิ่วในไตได้

         ดังนั้นก่อนดื่มน้ำ (ทุกชนิด) ต้องตรวจดูภาชนะให้ดีเสียก่อนว่ามีสิ่งสกปรกปนเปื้อนอยู่หรือไม่ สำหรับวิธีกำจัดคราบตะกรันในกระติกน้ำร้อนนั้นไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแค่เติมน้ำไปจนถึงขีดบนสุดของกระติก แล้วใส่น้ำส้มสายชูลงไป 4-6 ช้อนโต๊ะ เสียบปลั๊กไปรอจนเดือดจึงค่อยดึงปลั๊กออก ทิ้งน้ำร้อนไว้ประมาณ 4-5 ชั่วโมง จึงเทน้ำทิ้ง ล้างให้สะอาดอีกรอบแล้วใช้งานตามปกติ ระยะเวลาในการล้างกระติกน้ำร้อนแนะนำว่าประมาณ 6 เดือนต่อครั้ง

คราวนี้คุณก็จะได้ดื่มชา กาแฟ รวมไปถึงเครื่องดื่มร้อนอื่น ๆ ได้อย่างปลอดภัยไร้กังวล...


ขอขอบคุณข้อมูลจาก  http://share.psu.ac.th/blog/soda51/42112 และรูปภาพจาก enternet

วันอังคารที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2559

การใช้กระติกน้ำร้อน

+  ใส่น้ำให้พอเหมาะกับปริมาณที่ต้องการใช้ และถ้าจำเป็นต้องต้มน้ำต่อเนื่องระวังอย่าให้นำแห้ง
+  เมื่อเลิกใช้ควรถอดปลั๊กทันที
+  ไม่ต้มน้ำในห้องที่มีการปรับอากาศ เพราะไปเพิ่มความชื้นและความร้อนในห้อง ทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนัก สิ้นเปลืองไฟ
+  ไม่ควรนำน้ำที่มีความเย็นมากๆไปต้มทันทีจะสิ้นเปลืองไฟ
+  ระวังอย่าให้มีตะกรันเกาะด้านในตัวกระติก จะทำให้สิ้นเปลืองไฟในการต้มน้ำมากกว่าเดิม
+  ไม่นำสิ่งใดๆปิดช่องไอน้ำออก


ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.geocities.ws/justsaveourworld/howto/howto_7flask.htm และขอบคุณรูปภาพจาก enternet