วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

โรคขาดสารไอโอดีน


สารไอโอดีนคืออะไร
      สารไอโอดีน เป็นธาตุเคมีที่เกิดขึ้นเองในธรรมชาติแต่ไม่สม่ำเสมอ และมีมากน้อยแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ พบมากในดินและแถบที่ราบลุ่มแม่น้ำ ชายทะเล และทะเลซึ่งเป็นผลให้พืชผักและสัตว์จากทะเลมีสารไอโอดีนมากด้วย
ประโยชน์ของสารไอโอดีน
      สารไอโอดีนเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย ใช้ในการสร้างฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์ ซึ่งฮอร์โมนนี้จะเข้าสู่กระแสเลือดทำหน้าที่ควบคุมอวัยวะต่างของร่างกายให้ดำเนินไปอย่างปกติ โดยกระตุ้นให้เกิดการเจริญเติบโตและพัฒนาการของร่างกายโดยเฉพาะระบบสมองและประสาท นอกจากนี้ยังมีผลต่อการสร้างโปรตีนของกล้ามเนื้อของร่างกาย และมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงและเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต ไขมันและวิตามินอีกด้วย
ความต้องการสารไอโอดีน
  • ในคนปกติต้องการประมาณวันละ 150-200 ไมโครกรัม
  • หญิงตั้งครรภ์หญิงให้นมบุตร ต้องการประมาณวันละ 175-200 ไมโครกรัม
  • เด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือนต้องการวันละ 40-90 ไมโครกรัม
แหล่งอาหารที่มีสารไอโอดีน
ที่เหมาะสมที่สุดคือ อาหารที่มาจากทะเลทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์ เช่น

  • ปลาทะเล 100 กรัม มีสารไอโอดีนประมาณ 50 ไมโครกรัม
  • สาหร่ายทะเล 100 กรัม มีสารไอโอดีนประมาณ 200 ไมโครกรัม

  • โรคขาดสารไอโอดีน
         โรคขาดสารไอโอดีน หมายถึงภาวะร่างกายได้รับสารไอโอดีนไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายเป็นประจำ ซึ่งมีผลต่อการสร้างธัยรอยด์ฮอร์โมนทำให้เกิดการเสียสมดุลย์ในการควบคุมการทำงานของต่อมไทรอยด์
    ผลกระทบจากการขาดสารไอโอดีน
    1. คอพอก (Goitre) ถ้าโตมากๆจะไม่สวย กดหลอดลมทำให้หายใจลำบาก ไอ สำลักถ้ากดหลอดอาหารจะกลืนลำบาก
    2. ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมน ต่ำ (Hypothyroidism) ร่างกายมีธัยรอยด์ฮอร์โมนไม่เพียงพอ ทำให้มีอัตราการเผาผลาญอาหารลดลง การนำสารอาหารไปใช้ในการเสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกายไม่เต็มที่ ทำให้การเจริญเติบโตของร่างกายหยุดชะงักหรือเติบโตช้าได้
      - ในผู้ใหญ่มีอาการเกียจคร้าน อ่อนเพลีย เชื่องช้า ง่วงซึม ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ผิวหนังแห้ง ท้องผูก เสียงแหบ ทนความหนาวเย็นไม่ค่อยได้
      - ในเด็กนอกจากอาการที่กล่าวมาแล้ว ยังพบอาการเชื่องช้าทาจิตใจและเชาว์ปัญญาด้วย
      - ในทารกแรกเกิด มีความสำคัญ และรุนแรงมาก จะมีอาการทางสมองทำให้เกิดภาวะปัญญาอ่อน ไม่สามารถแก้ไขได้เรียกว่า "ภาวะธัยรอยด์ฮอร์โมนต่ำในทารกแรกเกิด"
    3. โรคเอ๋อ หรือ คริตินนิซึม (Critinnism) แม่ที่ขาดไอโอดีนในระหว่างตั้งครรภ์ ลูกที่ออกมาจะมีภาวะธัยรอยด์ฮอร์โมนต่ำตั้งแต่แรกเิกิด ถ้าแม่มีการขาดไอโอดีน รุนแรงอาจทำให้ทารกตายได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์หรือพิการแต่กำเนิด แม่ที่ได้รับสารไอโอดีนน้อยกว่า 20 ไมโครกรัมต่อวันจะพบว่าทารกที่คลอดออกมาเป็นโรค "เอ๋อ" ซึ่งจะแสดงอาการผิดปกติทางร่างกายติดต่อไปจนเป็นผู้ใหญ่มี 2 ลักษณะ
      1. มีความผิดปกติทางระบบประสาทเด่นชัด (Neurological cretinnism) จะมีสติปัญญาต่ำรุนแรง  หูหนวกเป็นใบ ท่าเดินผิดปกติ ตาเหล่ กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน
      2. เตี้ยแคระแกรน (Myxedematous) เจริญเติบโตช้า สติปัญญาต่ำมากผิวหนังแห้งหนา บวม กดไม่บุ๋ม เคลื่อนไหวช้า หูไม่หนวก ไม่เป็นใบ้ โดยทั่วไปต่อมธัยรอยด์ไม่โต
      ผลกระทบจากการขาดสารไอโอดีนในร่างกาย อาจจะไม่ได้เกิดอาการ ครบหมดทุกอย่าง อย่างไรก็ตามในพื้นที่ที่มีการขาดรุนแรงกว้างขวาง จะพบเห็นผู้ที่มีอาการผิดปกติจำนวนมาก

    คำแนะนำในการรับประทานไอโอดีน
    • ไอโอดีน ในรูปของอาหารเสริม โดยทั่วไปมักพบได้ในรูปของ วิตามินรวมและแร่ธาตุรวม โดยจะมีปริมาณประมาณ 150 ไมโครกรัม โดยสาหร่ายธรรมชาติเป็นแหล่งของไอโอดีนเสริมอาหารที่ดีที่สุด
    • ขนาดที่แนะนำให้รับประทานต่อวันสำหรับผู้ใหญ่คือ 150 ไมโครกรัม และสำหรับหญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรประมาณ 175 – 200 ไมโครกรัม
    • การรับประทานไอโอดีนวันละ 50 ไมโครกรัม ก็สามารถช่วยป้องกันโรคคอพอได้แล้ว
    • สำหรับผู้ที่รับประทานกะหล่ำปลีดิบในปริมาณมาก สารบางอย่างในกะหล่ำปลีดิบอาจทำให้ร่างกายไม่สามารถดูดซึมแร่ธาตุไอโอดีนได้ ดังนั้น ควรหาอาหารเสริมที่อยู่ในรูปของวิตามินรวมและแร่ธาตุรวมมารับประทานเสริม
    • สำหรับผู้ที่รับประทานวิตามินรวมและแร่ธาตุรวมเป็นประจำอยู่แล้ว ไม่ควรรับประทานไอโอดีนเสริมในรูปแบบอื่นๆอีก
    • สำหรับผู้ที่รับประทานอาหารทะเลเป็นประจำอยู่แล้ว ก็ไม่ควรรับประทานไอโอดีนเสริมอีก
    • สำหรับหญิงตั้งครรภ์ควรได้รับไอโอดีนอย่างเพียงพอ เพื่อลดความเสี่ยงจากการพิการหรือปัญญาอ่อนของทารกในครรภ์
    • สำหรับทารกแรกเกิดก็ควรได้รับไอโอดีนอย่างเพียงพอเช่นกัน เพราะจะช่วยให้เด็กมีความเฉลียวฉลาด และช่วยในการเจริญเติบโตของทารกแรกเกิด
    • เนื่องจากไอโอดีนมีความสำคัญมากกับทุกเพศทุกวัย ก็ควรจะได้รับอย่างเพียงพอ
    • เด็กในวัยเจริญเติบโต หากขาดไอโอดีนระดับไอคิวอาจต่ำลงหรือบกพร่องได้
    ประโยชน์ของไอโอดีน
    1. ช่วยพัฒนาสมองควบคุมระบบประสาท ทำให้ความคิดความอ่านไวขึ้น
    2. ช่วยในการควบคุมน้ำหนักตัว โดยการเผลาผลาญไขมันส่วนเกิน
    3. ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของร่างกาย
    4. ช่วยทำให้ร่างกายมีพลังงาน เพิ่มความกระตือรือร้นได้
    5. ช่วยบำรุงสุขภาพเส้ยผม เล็บ ผิวพรรณ และฟัน ให้มีความแข็งแรง
    6. ช่วยกระตุ้นการทำงานของหัวใจให้ดีขึ้น
    7. ช่วยกระตุ้นให้มีการหลั่งน้ำนมของมารดาให้มากขึ้น
    8. ช่วยในการขับถ่ายปัสสาวะ ควบคุมการกระจายตัวของน้ำตามร่างกาย
    9. ป้องกันไม่ให้เด็กพิการ หญิงแท้งบุตรง่าย และอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศในผู้ชาย

    แหล่งอ้างอิง : หนังสือวิตามินไบเบิล (ดร.เอิร์ล มินเดลล์)
    สรุปอาการแสดงของโรคขาดสารไอโอดีน ตลอดช่วงชีวิตมนุษย์
     ระยะของชีวิตอาการแสดงทางคลินิคและผลกระทบที่เกิดขึ้น
     ตัวอ่อนในครรภ์แท้ง หรือ ตายตั้งแต่อยู่ในครรภ์ / เพิ่มอัตราป่วยและอัตราตายในทารกช่วงอายุ 28 สัปดาห์ในครรภ์ จนถึง 28 วันแรกหลังคลอด / ปัญญาอ่อนอย่างถาวร (โรคเอ๋อ) / เชาว์ปัญญาลดลง สูญเสียการได้ยิน และมีความผิดปกติทางระบบประสาทและการเคลื่อนไหว
     
      ทารกแรกเกิด - 2 ปี คอพอก / ไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ / เชาว์ปัญญาลดลง สูญเสียการได้ยิน และมีความผิดปกติทางระบบประสาทและการเคลื่อนไหว
        เด็กคอพอก / ไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ / ตัวเตี้ย แคระแกร็น สติปัญญาพัฒนาเชื่องช้า
        ผู้ใหญ่คอพอก / ไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำและมีภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ จากที่มีไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ มีอาการเกียจคร้าน เชื่องช้า ง่วงซึม ผิวหนังแห้ง ทนความหนาวเย็นไม่ค่อยได้ เสียงแหบ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ท้องผูก