![]()
ผักผลไม้หลากสี นอกจากสีสันสวยงามแล้ว ยังมีประโยชน์เพียบเลย
อย่างที่เรารู้ ๆ กันว่าประโยชน์ของผักผลไม้นั้นมีมากมายมหาศาล ทั้งวิตามิน แร่ธาตุหลากชนิดที่เป็นประโยชน์กับกลไกต่าง ๆ ในร่างกาย และคุณสมบัติของการเป็นแหล่งใยอาหาร เป็นสารอาหารที่ช่วยลดการดูดซึมของคอเลสเตอรรอลและไขมัน (ศัตรูตัวฉกาจของหุ่นเพรียวสวย และสุขภาพของคุณ ๆ) ช่วยให้ระบบย่อย ระบบการขับถ่ายทำงานปกติ นอกจากคุณสมบัติเหล่านี้แล้ว ในผักผลไม้ยังมีสารพิเศษ ซึ่งทำหน้าที่คล้ายยาช่วยป้องกันโรคบางชนิด เช่น มะเร็ง โรคหัวใจหลอดเลือด เป็นต้น แต่จะกินอย่างไรเพื่อให้ร่างกายได้รับการปกป้องจากโรคภัยได้นั้น เขาแนะนำให้กินหลากหลายค่ะ ถ้าให้ชัดขึ้นมาอีกหน่อยก็คือ กินให้ครบ 5 สีค่ะ ใน 5 สีสันนั้นมีอะไรบ้าง อยากรู้ไปชมไปชิมด้วยกันค่ะ พลังของผักผลไม้ทั้ง 5 สี สีเขียว เป็นสีแรกที่ทุกคนจะนึกถึงเมื่อพูดถึงผัก สารที่ให้สีเขียวในผักก็คือคลอโรฟีลล์ นอกจากนี้ยังมีสารประกอบอื่น ๆ ที่มีคุณสมบัติส่งเสริมสุขภาพ เช่น ลูทีน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดการเกิดความเสื่อมของจอประสาทตา เป็นต้น ผัก ผลไม้สีเขียว : ผักใบเขียวทุกชนิด เช่น บล็อกโคลี คะน้า ผักโขม กวางตุ้ง กะหล่ำปลี ชะอม สีเหลือง สีส้ม ในกลุ่มสี นี้มีสารต้านอนุมูลอิสระหลายตัวด้วยกัน ตัวสำคัญ ๆ ก็ เช่น เบต้า-แคโรทีน ฟลาโวนอย วิตามินซี ซึ่งช่วยดูแลรักษาสุขภาพหัวใจ หลอดเลือด และระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายเรา และลดโอกาสการเกิดมะเร็ง กระตุ้นการกำจัดเซลล์มะเร็งของร่างกายด้วยค่ะ ผัก ผลไม้สีเหลือง ส้ม : ฟักทอง ขนุนข้าวโพด แครอต แคนตาลูป มะม่วง มะละกอสุก สับปะรด สีแดง สารตัวเลื่องชื่อในกลุ่มนี้ก็คือไลโคปีน เพราะมีการค้นพบว่าช่วยลดการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากของคุณผู้ชายได้ และลดปริมาณไขมันแอลดีแอลในเลือด นอกจากนี้อาหารสีแดงยังช่วยดูแลสุขภาพหัวใจ หลอดเลือดและระบบทางเดินปัสสาวะ ลดความเสี่ยงจากการเกิดมะเร็ง ผัก ผลไม้สีแดง : แตงโม มะเขือเทศ สตรอว์เบอรี่ เชอร์รี่ ชมพู่แดง ดอกกระเจี๊ยบ บีทรูท สีม่วงแดง ในผักผลไม้กลุ่มสีนี้มีสารแอนโทไซยานิน ช่วยปกป้องผักผลไม้จากการทำลายของรังสีอัลตร้าไวโอเลต เลยทำให้มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้ผนังหลอดเลือด ช่วยชะลอการเกิดการอุดตันในเส้นเลือด และโรคหลอดเลือดหัวใจแข็งตัว ผักผลไม้สีม่วงแดง : กะหล่ำปลีม่วง มะเขือม่วง หอมแดง ถั่วดำ/แดง ข้าวเหนียวดำ ข้าวแดง มันสีม่วง เผือก ดอกอัญชัน ลูกพรุน ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ เช่น องุ่นแดง บลูเบอร์รี่ แบล็กเบอร์รี่ เป็นต้น สีขาว สารประกอบในผักผลไม้กลุ่มนี้มีหลายชนิดและเป็นที่สนใจของนักวิจัย เพราะมีประโยชน์ในหลาย ๆ ด้าน เช่น แอปเปิ้ล ฝรั่ง หอมหัวใหญ่ กระเทียมมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความเสียหายของเซลล์และอวัยวะในร่างกาย ขิงและข่ามีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ช่วยดูแลความดันเลือด และป้องกันโรคหัวใจหลอดเลือดอุดตัน เป็นต้น ผัก ผลไม้สีขาว : แอปเปิ้ล ฝรั่ง เงาะ ลิ้นจี่ แห้ว งา ลูกเดือย ข่า ขิง กระเทียม หอมหัวใหญ่ ดู ๆ แล้วคุณประโยชน์ของอาหารแต่ละกลุ่มสี ก็ไม่ได้ทิ้งห่างกันเท่าไหร่เลย แต่การแบ่งกลุ่มสีก็เพื่อให้ง่ายและสนุกกับการเลือกกินมากยิ่งขึ้น ยังไงลองดูนะคะ 1 วันกินให้ได้ 5 สี สลับหมุนเวียนชนิดในแต่ละสีไป นอกจากได้สารอาหารหลากหลายที่ดีกับสุขภาพเราแล้ว เราเองก็ไม่รู้สึกเบื่อด้วย |
ตำบลสุมเส้า อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี E-mail = phen213@hotmail.com Tel. 042-219355 Facebook = โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองแสนตอ
วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
พลังของผักผลไม้หลากสี
วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
รณรงค์ฉีดวัคซีนคอตีบ - บาดทะยัก
รณรงค์ฉีดวัคซีนคอตีบ - บาดทะยัก
โรคคอตีบและโรคไอกรน เป็นโรคติดต่อที่พบได้บ่อยในเด็ก ส่วนโรคบาดทะยักพบได้ในทุกเพศและวัย เพราะมีการปนเปื้อนของเชื้อบาดทะยักในสิ่งแวดล้อมและดิน ในประเทศไทยมีการใช้วัคซีนป้องกันคอตีบ - บาดทะยัก- ไอกรน ครอบคลุมทั่วประเทศมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 ช่วยลดอุบัติการณ์ของการเกิดโรคทั้งสามได้เป็นอย่างดี
โรคคอตีบ
เป็นโรคติดต่อที่เกิดขึ้นเฉียบพลันและร้ายแรง
พบได้ประปรายตลอดปี ส่วนมากจะพบในเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี เกิดจากการติดเชื้อ
Corynebacterium diphtheriae ในน้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหะของผู้ป่วย
มีระยะฟักตัวประมาณ 1-7 วัน ผู้ป่วยจะมีไข้สูง หายใจหอบ คอบุ๋ม ชีพจรเร็ว การตรวจคอ
อาจพบแผ่นฝ้าสีขาวปนเทา (White-grayish membrane)
ซึ่งดูคล้ายเศษผ้าสกปรกติดอยู่บนทอนซิล คอหอย และลิ้นไก่ ซึ่งเขี่ยออกยาก
ถ้าเขี่ยแรงจะทำให้มีเลือดออกได้ อาการแทรกซ้อนที่สำคัญคือ
โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (Myocarditis) และประสาทอักเสบ (neuritis)
ซึ่งเกิดจากชีวพิษ (toxin) ของเชื้อ ดังนั้นการให้วัคซีนที่เป็นทอกซอยด์ (toxoid)
ซึ่งได้จากชีวพิษช่วยลดอัตราการเกิดโรคคอตีบได้เป็นอย่างดี
จึงแนะนำให้มีการให้วัคซีนให้ครบตามกำหนด
ปัจจุบันพบว่าระดับภูมิคุ้มกันต่อโรคนี้ในผู้ใหญ่ลดลง
องค์การอนามัยโลกแนะนำให้มีการใช้วัคซีน dT
ทดแทนการฉีดวัคซีนบาดทะยักเดี่ยวในกรณีของคนตั้งครรภ์และผู้ที่มีบาดแผล
โรคบาดทะยัก
โรคนี้เกิดจากสารชีวพิษ (toxin) ที่สร้างจากเชื้อ
Clostridium tetani ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดที่ไม่ชอบออกซิเจน
การเกิดโรคเกิดจากการปนเปื้อนของชีวพิษทางบาดแผลหรือการได้รับเชื้อเข้าสู่แผลที่มีออกซิเจนต่ำจะทำให้เชื้อเจริญเติบโตได้ดีและให้ชีวพิษออกมา
อาการของโรคคือ การเจ็บปวดจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ เริ่มจากบริเวณแก้มและลำคอ
และลงมาที่กล้ามเนื้อบริเวณลำตัว ทำให้มีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อหน้าท้อง
บางครั้งอาจพบการหดเกร็งกล้ามเนื้อเฉพาะบริเวณบาดแผลเท่านั้น
การหดเกร็งกล้ามเนื้อเกิดจากการกระตุ้นระบบประสาทรับความรู้สึกของชีวพิษ
ยาปฏิชีวนะกำจัดเชื้อบาดทะยักได้ไม่ดีและไม่สามารถกำจัดชีวพิษที่ก่อให้เกิดโรคได้
แต่การให้วัคซีน ที่เป็น
ทอกซอยด์ช่วยป้องกันโรคได้เป็นอย่างดีและการให้อิมมูโนกอลบลูลินสามารถช่วยกำจัดชีวพิษได้
โรคไอกรน
เป็นโรคที่พบมากในเด็กที่อายุน้อยกว่า 6 ปี
และในเด็กเล็กที่อายุน้อยกว่า 6
เดือนมีอัตราการเสี่ยงต่อการการเกิดโรคและเสียชีวิตได้สูง เกิดจากเชื้อ
Bordeltella pertussis การติดเชื้อผ่านทางน้ำมูกและน้ำลาย
อาการทั่วไปคล้ายไข้หวัดคือ ไข้ต่ำ น้ำมูกไหลจาม และไอ
แต่อาการไอจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยคอไม่แดงและเสียงปอดปกติ
ยกเว้นในรายที่มีโรคปอดอักเสบแทรกซ้อนจะพบร่วมกับไข้ อาจพบปื้นแดงที่ตาขาว
ปัจจุบันพบว่ามีการระบาดของไอกรนในผู้ใหญ่ซึ่งกำลังมีการพิจารณาการให้วัคซีนไอกรนซ้ำอีกในผู้ใหญ่
วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยักและไอกรน
วัคซีนป้องกันโรคคอตีบและบาดทะยักทำจากทอกซอยด์
ขณะที่วัคซีนป้องกันโรคไอกรนเป็นวัคซีนชนิดเชื้อตายหรือส่วนของแอนติเจนจากผนังเซลล์ของเชื้อ
วัคซีนในกลุ่มนี้ที่มีอยู่แบ่งได้เป็น 3 จำพวกคือ
1. วัคซีนบาดทะยัก (TT)
ประกอบด้วยทอกซอยด์บาดทะยัก
2. วัคซีนผสมของคอตีบและบาดทะยัก วัคซีนกลุ่มนี้มี 2
ชนิด ได้แก่ วัคซีน DT และวัคซีน dT ซึ่งแตกต่างกันที่ปริมาณของทอกซอยด์คอตีบ
โดยทอกซอยด์คอตีบที่ใช้ในเด็กต่ำกว่า 7 ปีจะมีปริมาณสูงถึง 30 Lf (DT)
ส่วนวัคซีนที่มีปริมาณทอกซอยด์คอตีบต่ำอยู่ที่ 10 Lf (dT)
ใช้สำหรับผู้ใหญ่หรือเด็กที่อายุมากกว่า 7 ปีขึ้นไป
3. วัคซีนผสมของคอตีบ บาดทะยักและไอกรน
วัคซีนกลุ่มนี้ในปัจจุบันมี 2 ชนิด ได้แก่ วัคซีน DTwP และวัคซีน DTaP
วัคซีนทั้งสองชนิดมีองค์ประกอบของทอกซอยด์คอตีบและบาดทะยักที่เหมือนกัน
แต่มีความแตกต่างในส่วนของวัคซีนไอกรน โดยวัคซีน DTwP
ประกอบด้วยเชื้อไอกรนที่ตายแล้ว ขณะที่วัคซีน DTaP
ประกอบด้วยแอนติเจนจากผนังเซลล์ของเชื้อไอกรนจำนวน 2 อย่างคือ Inactivated
lymphocytois promoting factor (LPF) และ Filamentous hemagglutinin (FHA)
วัคซีนนี้ใช้ในเด็กที่อายุน้อยกว่า 7 ปี
โดยพบว่าวัคซีนทั้งสองชนิดให้ประสิทธิภาพในการป้องกันโรคที่ไม่แตกต่างกัน แต่วัคซีน
DTwP ให้ผลข้างเคียงสูงกว่า DTaP ถ้าได้รับวัคซีน DTwP แล้วมีไข้ สูงเกิน 40.5 0C
มีการชักหรือกรีดร้องนานกว่า 3 ชั่วโมง
หรือมีภาวะตัวอ่อนและไม่ตอบสนองเกิดขึ้นภายใน 48 ชั่วโมงหลังได้รับวัคซีน
เมื่อจะให้วัคซีนครั้งต่อไปควรให้ยาลดไข้หรือยากันชักป้องกันไว้ก่อน หรือให้วัคซีน
DTaP/DT แทน
อ่านต่อ
ข้อมูลอ้างอิงจาก ภญ.ผศ.ดร.จุรีย์ เจริญธีรบูรณ์
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)