วันจันทร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555

อสม.ทำความดี อสม.จิตอาสา

 อสม.ทำความดี อสม.จิตอาสา
 
                  อสม.คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เป็นบุคคลที่ได้รับการคัดเลือกจากหมู่บ้านหรือชุมชน โดยมีการคัดเลือกบุคคลที่อยู่ในพื้นที่ ชุมชนให้การยอมรับว่ามีความเหมาะสมในการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุข เช่น การให้ข้อมูลเรื่องสุขภาพต่างๆของกระทรวงสาธารณสุข เช่น แจ้งการระบาดของโรคไข้เลือดออก แล้ว อสม.ก็พาชุมชน รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย แจ้งประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ เช่น เทศบาล อบต. เพื่อพ่นเคมีหรือหาแนวทางการควบคุมโรคต่อไป
อสม.มีการดูแลสุขภาพตั้งแต่เกิดจน ตาย เช่น รณรงค์ให้หญิงตั้งครรภ์มีการฝากครรภ์ตามเกณฑ์ การนำเด็กมารับวัคซีน การออกอนามัยโรงเรียน การออกเยี่ยมบ้าน ดูแลผู้สูงอายุ คนชรา คนพิการ งานเหล่านี้ อสม.จะรู้มากที่สุดเพราะผู้ป่วยหรือกลุ่มเป้าหมายเป็นคนในพื้นที่ที่ตนเองดูแลอยู่แล้ว
อสม.จิตอาสา เป็นการสมัครใจของ อสม.ที่จะเข้ามาช่วยเหลืองานเจ้าหน้าที่ที่มีล้นมือ ด้วยการช่วยเหลือด้านต่างๆตามกำลังและความสามารถ เช่น การจัดบริการ การคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น การทำความสะอาด อาคารสถานที่ การพาหมออนามัยออกเยี่ยมบ้าน ดูแลคนในชุมชนร่วมกับทีมหมออนามัย อื่นๆอีกมากมาย
อสม.จิตอาสา จัดอาคารสถานที่และร่วมกันทำความสะอาด รพ.สต.บ้านชวน
อสม.มีการพัฒนาความรู้ การรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากทางราชการอย่างต่อเนื่อง ด้วยการประชุม อบรม สนทนากลุ่ม หรืองานกิจกรรมที่ หมออนามัยเข้ามาร่วมดำเนินงานร่วมกัน
อสม.เป็นบุคลากรที่สำคัญมากในระดับพื้นที่หรือฐานรากเพราะเป็นบุคคลในชุมชนเอง รู้แจ้ง รู้จริง รู้ลึก เรื่องข้อมูลในชุมชน ที่สุดๆ..



วันอาทิตย์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2555

พฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์


ท่านที่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดโรคเอดส์ พฤติกรรมเสี่ยง ได้แก่ การมีคู่หลายคน การมีเพศสัมพันธ์กับ เพศเดียวกัน ท่านที่ไม่รับผิดชอบ เมื่อท่านเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ท่านไม่ได้เป็นคนเดียว ท่านอาจจะนำเชื้อสู่คนที่ท่านรัก เนื่องจากโรคบางโรค ไม่มีอาการเตือน ท่านอาจจะนำเชื้อสู่คนที่ท่านรักโดยไม่ตั้งใจ โรคหลายโรคสามารถติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การเรียนรู้ถึงพฤติกรรม เสี่ยงจะทำให้ท่านสามารถหลีกเลี่ยงจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

พฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดต่อทางเพศสัมพันธ์สูง
หมายถึง พฤติกรรมที่จะทำให้ท่านติดโรคทางเพศสัมพันธ์ได้แก่พฤติกรรม ดังต่อ
ไปนี้
  • มีการเปลี่ยนคู่นอนหลายคน
  • เคยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น
  • คู่ครองเคยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • ร่วมเพศกับคนที่ไม่รู้จัก
  • ดื่มสุราหรือใช้ยาเสพติดก่อนร่วมเพศ เนื่องจากจะทำให้มีการร่วมเพศที่เสี่ยงต่อ การติดโรค
  • ร่วมเพศกับผู้ติดยาเสพติด
  • ร่วมเพศทางทวารหนัก
  • ไม่สวมถุงยางขณะร่วมเพศกับคนที่ไม่ใช่ภรรยา

หากท่านเลือกคู่ครองที่ไม่ใช่กลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ท่านสามารถลดอัตรา การติดเชื้อลงไป 5000 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ที่ยุ่งกับ กลุ่มเสี่ยงหากคู่นอนของ ท่านมีผลการตรวจเลือดทดสอบ HIV ให้ผลลบท่านจะลดความเสี่ยงลง 100 เท่า ดังนั้นจึงมีความจำเป็น สำหรับ คู่รักก่อนที่จะมีอะไรกันควรที่จะเลือกคู่นอน ให้ดี และควรที่จะเจาะเลือดก่อนที่จะมีเพศสัมพันธ์ การสวมถุงยางคุมกำเนิดจะลด อัตราเสี่ยงลงไป 10 เท่า


พฤติกรรมที่ปลอดภัยจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ก่อนมีเพศสัมพันธ์ ต้องมีสติอย่าหน้ามืด จนกระทั่งขาดสติ ไม่คำนึงถึงผลเสียที่จะเกิด หากจะร่วมเพศกับคนที่ไม่รู้ประวัติ ควรจะคิดว่า เขาอาจจะเป็นโรคติดต่อ

  • ให้งดมีเพศสัมพันธ์กับบุคคลที่ต้องสงสัยไม่ว่าจะเป็นสามีหรือคนอื่น

  • ให้มีคู่คนเดียวโดยเฉพาะผู้ที่ไม่มีประวัติเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และหากจะมีคู่คน ใหม่จะต้องซักประวัติโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ประวัติคู่นอนคนก่อน ประวัติการใช้ยา เสพติด รวมทั้งสุขภาพปัจจุบันก่อนที่จะมีเพศสัมพันธ์ ควรจะเจาะเลือดดูโรคเอดส์ ไวรัสตับ อักเสบบี ก่อนที่จะมีเพศสัมพันธ์
  • ให้สวมถุงยางถ้าไม่แน่ใจ ถ้าใช้สารหล่อลื่นต้องใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย
  • ไม่ดื่มสุราหรือใช้ยาเสพติดก่อนร่วมเพศเพราะอาจจะขาดความยั้งคิด

วันจันทร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การเลือกแว่นกันแดด เพื่อสุขภาพของดวงตา

การเลือกแว่นกันแดด เพื่อสุขภาพของดวงตา

การเลือกแว่นตากันแดด เพื่อสุขภาพของดวงตา
การเลือกแว่นกันแดด เพื่อสุขภาพของดวงตา
ดวงตาของเราเป็นอวัยวะที่มีความบอบบางอย่างมาก และยังเป็นอวัยวะที่สำคัญอีกต่างหาก ไม่เชื่อลองเอาผ้าปิดตาทั้งวันดูสิ รับรองว่าต้องมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของเราแน่ๆ ดวงตาเป็นอวัยวะที่เราต้องใช้เกือบตลอดเวลาโดยเฉพาะตอนกลางวัน ดวงตาจะต้องรับรังสีจากทั้งแสงแดด ซึ่งมีรังสี UV ที่สามารถทำลายเนื้อเยื่อดวงตาได้ ดังนั้น การเลือกแว่นกันแดด เพื่อปกป้องดวงตาของเราจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมากๆ วันนี้เลยจะมาเล่าเรื่องการเลือกแว่นกันแดดให้ฟังกัน

1. แว่นกันแดดควรมีเครื่องหมาย UV สิ่งสำคัญอันดับแรกของการเลือกแว่นกันแดดคือ ความสามารถในการป้องกันรังสี UV เนื่องจากรังสี UV สามารถทำลายเนื้อเยื่อของดวงตาเราได้ เป็นสาเหตุของการเป็นโรคต้อต่างๆเช่น ต้อหิน ต้อกระจก เป็นต้น หากแว่นไม่สามารถป้องกันรังสี UV ได้ ก็คงเป็นแค่แว่นที่ใส่เอาเท่ ไม่มีประโยชน์อะไรเท่าไหร่




2. ควรเป็นแว่นที่ตัดแสงสะท้อนได้ หรือ แว่นโพลาไรซ์เนื่องจากแว่นตาทิ่มีเลนส์ทำจากวัสดุต่างๆ เช่น แก้ว หรือ พลาสติกต่างๆ เวลาใส่จะทำให้เห็นแสงสะท้อนได้ เช่น แสงสะท้อนบนถนน เป็นต้น แสงสะท้อนเหล่านี้ล้วนเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ วิธีเช็คว่ามันเป็นโพลาไรซ์แท้ ก็คือ เอาแว่น ส่องไปบนผิวสะท้อนแสง ที่เป็นอโลหะ เช่น ถนน หรือพลาสติกเมื่อหมุนไปถึงองศาที่เหมาะสม แสงสะท้อนจากอโลหะนั้นจะลดวูบลงนี่คือโพลาไรซ์ของแท้ แต่โพลาไรซ์มันก็มีหลายเกรด ลดแสงสะท้อนได้มาก ก็ราคาสูงขึ้นมาหน่อย ลดแสงได้น้อย ก็จะถูกหน่อย แต่เทคโนโลยีและราคา ต่างกันไม่มากหรอก

3.สีของเลนส์แว่น สีของเลนส์แว่น มีผลต่อการทำให้มองสิ่งต่างๆผิดเพี้ยน ซึ่งหากอาจเป็นอันตรายเพราะจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย (พวกสัญญานไฟจราจรเป็นต้น) สีที่ควรเลือกคือ สีน้ำตาล(ชา) หรือสีออกดำๆ เพราะทำให้เกิดการผิดเพี้ยนของสีน้อยสีสุด ส่วนสีที่ไม่แนะนำคือ สีเขียวและสีน้ำเงิน

4.ขนาดของกรอบ เป็นสิ่งหายากที่นักวิทยาศาสตร์สุขภาพ กับ แฟชั่นนิส จะเห็นตรงกันคือ การเลือกกรอบแว่นควรเลือกกรอบใหญ่ๆเข้าไว้ เพราะ กรอบใหญ่ๆ จะทำให้มีพื้นที่ปกป้องผิวรอบดวงตาจา่กรังสี UV ด้วย ยิ่งตอนนี้ แฟชั่นเด็กเนิร์ด กำลังมาแรง หามาใส่สักอันคงจะดีมิน้อย

ดวงตาเป็นอวัยวะสำคัญของเรา ยังไงก็ดูแลรักษาดวงตาให้ดีๆนะครับ ^^ คราวหน้าจะมาแบ่งปันความรู้เรื่องสุขภาพเรื่องไหน ติดตามชมกันนะครับ ^^

วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555

โรคคอตีบ คืออะไร



โรคคอตีบ คืออะไร  อาการของโรค  สาเหตุการเกิดโรค จะมีแนวทางการป้องกันโรค อย่างไร

วันอาทิตย์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2555

พฤติกรรมและปัจจัยเสี่ยง ต่อการเกิดโรคทางเพศสัมพันธ์

 


เอดส์ หรือ AIDS (Acquired Immuno Deficiency Syndrome)


เป็นกลุ่มอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นเพราะร่างกายได้รับเชื้อไวรัสเอดส์เอชไอวี (HIV) ซึ่งจะเข้าไป ทำลายเม็ดเลือดขาว ที่เป็นแหล่งสร้างภูมิคุ้มกันโรค ทำให้ภูมิคุ้มกันโรคลดน้อยลง จึงทำให้ติดเชื้อ โรคฉวยโอกาสแทรกซ้อนเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น เช่น วัณโรคในปอด หรือต่อมน้ำเหลือง เยื่อหุ้ม สมองอักเสบจากเชื้อรา โรคผิวหนังบางชนิด หรือเป็นมะเร็งบางชนิดได้ง่ายกว่าคนปกติ ซึ่งสาเหตุ ของการเสียชีวิตมักเกิดขึ้นจากโรคติดเชื้อฉวยโอกาสต่างๆ เหน่านี้ ทำให้อาการจะรุนแรง และเสีย ชีวิตอย่าง
HIV (Human Immunodeficiency Virus) สามารถแบ่งตัวในเซลล์ของคน เช่น เม็ดเลือดขาว เซลล์สมอง เมื่อติดเชื้อร่างกายจะสร้างภูมิต้านทาน (Antibody) ต่อต้านเชื้อไวรัส แต่ไม่สามารถ กำจัดให้หมดไป เชื้อยังคงอยู่ในเม็ดเลือดและแพร่ต่อไปได้ และจะไปทำลายเม็ดเลือดขาว ซึ่งมี ความสำคัญอย่างยิ่งในการควบคุมการทำงานของระบบภูมิต้านทานของร่างกาย ทำให้ภูมิต้านทาน ลดลง
เชื้อไวรัสเอดส์ สามารถอาศัยหรือทำให้เกิดโรคในคนเท่านั้น ไม่สามารถทำให้เกิดโรคในสัตว์อื่น เมื่อออกนอกร่างกายคนแล้ว จะ ไม่สามารถทนสภาพแวดล้อมภายนอกได้ อาจมีชีวิตได้นานเป็นชั่วโมงหรือเป็นวันเท่านั้น ขึ้นอยู่กับ อุณหภูมิความร้อน ความเย็น สภาวะกรด ด่าง ความแห้ง ความชื้น เช่น ถูกความร้อน 56 องศาเซลเซียส นาน 10-15 นาที เชื้อก็ตายหมด นอกจากนี้ยังทำลาย ได้ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อต่างๆ เช่น น้ำยาซักผ้าขาว (โซเดียมไฮโปคลอไรท์ 5%)
เชื้อไวรัสเอดส์ พบมากที่สุดในเลือด น้ำเหลือง เนื้อเยื่อต่างๆ รองลงมาคือ น้ำอสุจิ น้ำในช่องคลอด ส่วนน้ำลาย เสมหะ น้ำนม มี ปริมาณไวรัสเอดส์น้อย สำหรับเหงื่อ ปัสสาวะ และอุจจาระ แทบไม่พบเลย แม้ว่าเชื้อเอดส์จะปะปนในของเหลวที่ออกจากร่างกาย แต่พบว่าโอกาสแพร่โรคมีเฉพาะทางเลือด น้ำอสุจิ และน้ำในช่องคลอดเท่านั้น
การร่วมเพศกับผู้ติดเชื้อเอดส์ โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย ไม่ว่าชายกับหญิง ชายกับชาย หรือหญิงกับหญิง ทั้งช่องทางธรรมชาติหรือไม่ธรรมชาติ ก็ล้วนมีโอกาสติดโรคนี้ได้ทั้งสิ้น และปัจจัยที่ทำให้มีโอกาสติดเชื้อมากขึ้น ได้แก่ การมีแผลเปิด และจากข้อมูลของกอง ระบาดวิทยาพบว่า ร้อยละ 83 ของผู้ป่วยเอดส์ได้รับเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์

การรับเชื้อทางเลือด

การรับเชื้อทางเลือด โอกาสติดเชื้อขึ้นอยู่กับปริมาณไวรัสในเลือด พบได้ 2 กรณี คือ

  1. ใช้เข็มหรือกระบอกฉีดยาร่วมกับผู้ติดเชื้อเอดส์ มักพบในกลุ่มผู้ใช้สารเสพติดชนิดฉีดเข้า เส้น
  1. รับเลือดในขณะผ่าตัดหรือเพื่อรักษาโรคเลือดบางชนิด ในปัจจุบันเลือดที่ได้รับบริจาคทุก ขวดเกือบ 100% (โอกาสตรวจผิดหรือเลือดมีเชื้อ แต่ยังไม่ให้ผลบวกมีน้อยมาก)
  1. การรับอวัยวะของผู้มีเชื้อเอดส์หรือการผสมเทียม

การแพร่เชื้อจากแม่สู่ลูก


ผู้หญิงสามารถติดเชื้อเอดส์ได้จากสามี คู่รัก คู่นอน หรือพฤติกรรมเสี่ยงของตนเอง พบว่าอัตราการ ติดเชื้อเอดส์ในหญิงมีครรภ์ประมาณร้อยละ 1.46 (มิถุนายน 2543) และสามารถถ่ายทอดให้ทารกได้
ทั้งในขณะตั้งครรภ์ ขณะคลอดและภายหลังคลอดประมาณร้อยละ 60 ในขณะนี้มีวิธีป้องกันการแพร่ เชื้อเอดส์จากแม่สู่ลูกได้โดยการกินยาต้านไวรัส ในช่วงอายุครรภ์ 3-4 สัปดาห์ ไปจนคลอด สามารถ ลดโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์ลงได้ร้อยละ 30 เหลือเพียงร้อยละ 8 แต่ถึงอย่างไร ก็ยังคงมีความ เสี่ยงอยู่ดี ดังนั้นวิธีที่ดีทีสุดคือ การตรวจเลือดก่อนตัดสินใจตั้งครรภ์ทุกครั้ง ในระยะหลังคลอด เด็ก สามารถได้รับเชื้อเอดส์จากแม่ทางน้ำนมได้ องค์การอนามัยโลกจึงแนะนำให้ใช้นมผงแทน เพื่อลด โอกาสเสี่ยงดังกล่าว
 

การมีเพศสัมพันธ์

พบว่าโอกาสที่จะแพร่โรคมีเฉพาะทางเลือดน้ำกามและน้ำในช่องคลอดเท่านั้น ช่องทาง การติดต่อโรคที่สำคัญมี 2 ทาง คือ

การร่วมเพศกับผู้ที่มีเชื่อโรคเอดส์ ไม่ใช้ถุงยางอนามัย ไม่ว่าชายกับหญิง ชายกับชาย หญิงกับหญิง ร่วมมีโอกาสติดเชื้อได้ทั้งสิ้น และปัจจัยที่ทำให้มีการติดเชื้อได้มากขึ้น คือ การมีบาดแผลฉีกขาดระหว่างร่วมเพศ หรือการมีแผลจากกามโรคอยู่เดิม

วันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2555