แผลกดทับ (pressure sore) แผลกดทับเป็นปัญหาที่พบได้บ่ยในผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยเจ็บหนักที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ หรือในผู้ป่วยที่ถูกจำกัดการเคลื่อนไหว โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยอัมพาตเนื่องจากการบาดเจ็บของไขสันหลัง หรือหลอดเลือดสมองแตก ตีบตัน
เมื่อเกิดแผลกดทับขึ้นแล้วต้องเสียเวลารักษานาน เสียทั้งเศรษฐกิจและแรงงาน และอาจเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ได้ เช่น ติดเชื้อลุกลาม ทำให้โรคเดิมยิ่งเลวลง ฉะนั้นการป้องกันจึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง
สภาวะที่ทำให้มีโอกาสเกิดแผลกดทับ
- อัมพาต
- แรงถูไถ
- สภาวะโลหิตจาง
- สูงอายุ
- สภาวะติดเชื้อ
- สภาวะหมดสติ
- ความชื้นจากเหงื่อ ปัสสาวะ หรือ อุจจาระทำให้เกิดการเปื่อยของผิวหนัง
- ขาดสารอาหาร , โปรตีนในร่างกายต่ำ
อุบัติการณ์การเกิดแผลกดทับ
แผลกดทับมักขึ้นตามตำแหน่งที่มีปุ่มกรดูกและอยู่ชิดกับผิวหนัง เมื่อถูกกดทับอยู่เสมอหรือเป็นเวลานานก็จะเกิดแผลกดทับขึ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับท่าทางของผู้นั้น แผลกดทับมักเกิดบริเวณต่อไปนี้- กระดูกก้นกบ
- สะโพก
- ตาตุ่ม
- ส้นเท้า
การป้องกันการเกิดแผลกดทับ
การป้องกันแผลกดทับสามารถทำได้เมื่อผู้ป่วยและผู้มีหน้าที่ดูแลผู้ป่วยได้ทราบถึงสาเหตุของการเกิดแผลกดทับรวมถึงวิธีป้องกันที่ถูกต้องวัตถุประสงค์ของการป้องกัน
- เพื่อบรรเทาการเกิดแรงกดทับและส่งเสริมให้มีการเคลื่อนไหว
- เพื่อกระตุ้นระบบการไหลเวียนของโลหิตให้ดีขึ้น
- เพื่อรักษาผิวหนังให้สะอาดและแห้งอยู่เสมอ
- ลดแรงกดทับทั้งในขณะที่อยู่บนเตียง , นั่ง หรือ ยืน โดยการเปลี่ยนท่าหรือพลิกตะแคงตัวสลับข้างอย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมง
- ใช้อุปกรณ์เสริมที่เหมาะสม เช่น ใช้ที่นอนฟองน้ำหรือที่นอนลมปูทับบนที่นอน
- สำรวจดูผิวหนังโดยเฉพาะตามปุ่มกระดูกต่าง ๆ ของร่างกายทุกวัน
- รักษาความสะอาดของร่างกายโดยทำความสะอาดด้วยสบู่อ่อน และดูแลรักษาผิวหนังไม่ให้เปียกชื้น
- ดูแลให้ได้รับสารอาหารครบ 5 หมู่