วันพุธที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2555

โทษของการไม่รับประทานอาหารเช้า



        หลายๆคนเชือว่าการไม่ทานอาหารเช้าไม่มีผลเสียอะไร ซึ่งไม่ถูกต้องเลย เพราะการไม่ทานอาหารเช้านั้นมีผลเสียต่อสุขภาพทำให้มีความเสี่ยงให้เกิดโรคร้ายแรงต่­างๆตามมาเยอะมาก หากอยากได้ทางเลือกอาหารเช้าที่ดี ดูได้ที่ http://hbl.tyhthailand.com เป็นอาหารทดแทนระดับเซลล์ที่ดีมากๆ

แท็ก:
ที่มา :  http://www.youtube.com/user/oran1T

วันศุกร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2555

มาป้องกันแผลกดทับกันเถอะ

แผลกดทับ (pressure sore) แผลกดทับเป็นปัญหาที่พบได้บ่ยในผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยเจ็บหนักที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ หรือในผู้ป่วยที่ถูกจำกัดการเคลื่อนไหว โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยอัมพาตเนื่องจากการบาดเจ็บของไขสันหลัง หรือหลอดเลือดสมองแตก ตีบตัน
เมื่อเกิดแผลกดทับขึ้นแล้วต้องเสียเวลารักษานาน เสียทั้งเศรษฐกิจและแรงงาน และอาจเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ได้ เช่น ติดเชื้อลุกลาม ทำให้โรคเดิมยิ่งเลวลง ฉะนั้นการป้องกันจึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง

สภาวะที่ทำให้มีโอกาสเกิดแผลกดทับ
  1. อัมพาต
  2. แรงถูไถ
  3. สภาวะโลหิตจาง
  4. สูงอายุ
  5. สภาวะติดเชื้อ
  6. สภาวะหมดสติ
  7. ความชื้นจากเหงื่อ ปัสสาวะ หรือ อุจจาระทำให้เกิดการเปื่อยของผิวหนัง
  8. ขาดสารอาหาร , โปรตีนในร่างกายต่ำ
จะเห็นได้ว่าสภาวะที่เป็นสาเหตุของการเกิดแผลกดทับนั้นมีมากมายซึ่งก่อให้เกิดแรงกดที่กระทำต่อเนื้อเยื่อ โดยเฉพาะบริเวณปุ่มกระดูกทำให้เนื้อเยื่อขาดเลือด ผลที่ตามมาคือเนื้อเยื่อขาดอาหาร และไม่สามารถขับของเสียในเซลล์ออกได้ เนื้อเยื่อจึงเสียและตายในที่สุด เกิดเป็นแผลกดทับขึ้น การเกิดรอยช้ำที่มองเห็นภายนอกแล้วไม่หายไป เมื่อลูบเบา ๆ แสดงถึงได้มีการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง

อุบัติการณ์การเกิดแผลกดทับ

แผลกดทับมักขึ้นตามตำแหน่งที่มีปุ่มกรดูกและอยู่ชิดกับผิวหนัง เมื่อถูกกดทับอยู่เสมอหรือเป็นเวลานานก็จะเกิดแผลกดทับขึ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับท่าทางของผู้นั้น แผลกดทับมักเกิดบริเวณต่อไปนี้
  • กระดูกก้นกบ
  • สะโพก
  • ตาตุ่ม
  • ส้นเท้า

การป้องกันการเกิดแผลกดทับ

การป้องกันแผลกดทับสามารถทำได้เมื่อผู้ป่วยและผู้มีหน้าที่ดูแลผู้ป่วยได้ทราบถึงสาเหตุของการเกิดแผลกดทับรวมถึงวิธีป้องกันที่ถูกต้อง
วัตถุประสงค์ของการป้องกัน
  • เพื่อบรรเทาการเกิดแรงกดทับและส่งเสริมให้มีการเคลื่อนไหว
  • เพื่อกระตุ้นระบบการไหลเวียนของโลหิตให้ดีขึ้น
  • เพื่อรักษาผิวหนังให้สะอาดและแห้งอยู่เสมอ
วิธีการป้องกัน
  1. ลดแรงกดทับทั้งในขณะที่อยู่บนเตียง , นั่ง หรือ ยืน โดยการเปลี่ยนท่าหรือพลิกตะแคงตัวสลับข้างอย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมง
  2. ใช้อุปกรณ์เสริมที่เหมาะสม เช่น ใช้ที่นอนฟองน้ำหรือที่นอนลมปูทับบนที่นอน
  3. สำรวจดูผิวหนังโดยเฉพาะตามปุ่มกระดูกต่าง ๆ ของร่างกายทุกวัน
  4. รักษาความสะอาดของร่างกายโดยทำความสะอาดด้วยสบู่อ่อน และดูแลรักษาผิวหนังไม่ให้เปียกชื้น
  5. ดูแลให้ได้รับสารอาหารครบ 5 หมู่