การเกิดภาวะสมองขาดเลือด
ภาวะสมองขาดเลือดที่มีเนื้อสมองตาย มักเกิดจากการขาดเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยง โดยทั่วไปเกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดแดงในสมองหรือหลอดเลือดแดงคาโรติด (Carotid) ซึ่งเป็นหลอดเลือดแดงบริเวณคอที่นำเลือดไปเลี้ยงสมอง ภาวะสมองขาดเลือดมักเกิดจากหลอดเลือดสมองตีบ (Ischemic Stroke) หรือภาวะหลอดเลือดสมองแตก (Hemorrhagic Stroke) ซึ่งเกิดจากการที่ผนังหลอดเลือดแตกทำให้มีเลือดคั่งในเนื้อสมอง ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยมักมีอาการของภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวนำมาก่อน ลักษณะดังกล่าวมักเป็นเวลาสั้นๆ เกิดขึ้นเมื่อเลือดและออกซิเจนไหลเวียนลดลงชั่วคราว ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวหรือเรียกว่า ‘TIA’ มีอาการเกิดขึ้นตั้งแต่ 2-3 นาทีถึงเป็นชั่วโมง เป็นสัญญาณเตือนบอกถึงความเสี่ยงในการเกิดภาวะสมองขาดเลือดเพิ่มขึ้นในอนาคต
ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง มีดังนี้
• โรคความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุด
• โรคเบาหวาน คือ ภาวะที่น้ำตาลในเลือดในช่วงที่งดอาหารสูงมากกว่า 120 มิลลิกรัม/เดซิลิตร จะมีความเสี่ยงต่อหลอดเลือดตีบมากขึ้น
• ระดับไขมันในเลือดสูง ทำให้หลอดเลือดแข็งตัว มีการตีบแคบลงในที่สุด ทำให้เกิดการอุดตันได้
• โรคหัวใจ เช่น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคเกี่ยวกับลิ้นหัวใจ
• การสูบบุหรี่และดื่มสุรา
• ขาดการออกกำลังกายจะเพิ่มความเสี่ยงของของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองอุดตัน
• ความอ้วน ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก มีโอกาสเป็นเบาหวานและความดันโลหิตสูงหรืออาจเป็นได้ทั้ง 2 โรค
• การสูบบุหรี่และดื่มสุรา
• ขาดการออกกำลังกายจะเพิ่มความเสี่ยงของของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองอุดตัน
• ความอ้วน ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก มีโอกาสเป็นเบาหวานและความดันโลหิตสูงหรืออาจเป็นได้ทั้ง 2 โรค
• อายุ โรคหลอดเลือดสมองมักพบในคนอายุมากกว่า 65 ปี แต่คนที่อายุน้อยกว่านี้ก็มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้
• ประวัติในครอบครัว ถ้าบุคคลในครอบครัวของคุณเป็นโรคหลอดเลือดสมองมาก่อน จะเพิ่มความเสี่ยงให้คุณมากขึ้น
• ประวัติในครอบครัว ถ้าบุคคลในครอบครัวของคุณเป็นโรคหลอดเลือดสมองมาก่อน จะเพิ่มความเสี่ยงให้คุณมากขึ้น
• ความเครียด
5 สัญญาณอันตราย
โรคอัมพาตมักจะมีอาการเตือนก่อนที่จะเกิดโรค โปรดจำไว้หากท่านมีอาการอันใดอันหนึ่ง แม้ว่าขณะนี้ท่านจะสบายดีควรปรึกษาแพทย์ อาการที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันเป็นสัญญาณเตือนถึงความเสียหายชั่วคราวที่เกิดขึ้นกับการไหลเวียนของเลือดไปสู่สมอง
- ตาพร่ามัวมองเห็นภาพซ้อน
- อาการชาครึ่งซีก หน้าชา ปากเบี้ยว แขนขาอ่อนแรง
- พูดลำบาก ฟังไม่เข้าใจ
- วียนศีรษะ บ้านหมุน เดินเซ
- ปวดศีรษะรุนแรง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก โรงพยาบาลเอกชัย (http://www.ekachaihospital.com/ekc21web/index.php/features-2/t1-4/2-uncategorised/111-2012-07-17-02-14-56)