วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2559

5 วิธีสังเกต ยาหมดอายุ

               การดูว่า ยาหมดอายุ หรือไม่นั้น เริ่มแรก คือดูวันหมดอายุของยาที่ระบุไว้บนฉลากยา และถ้ายานั้นไม่มีวันบอกหมดอายุ อาจดูจากวันเดือนปีที่ผลิต ซึ่งทั่วๆ ไป เราถือว่า หากเป็นยาน้ำจะเก็บไว้ได้ประมาณ 3 ปีนับจากวันผลิต และหากเป็นยาเม็ดจะเก็บไว้ได้ 5 ปีค่ะ และถ้าเป็นยาหยอดตาหากเปิดใช้แล้วเก็บไว้ได้เพียงหนึ่งเดือน  อ่านต่อที่นี้


ขอบคุณที่มาจาก : http://health.mthai.com/howto/3287.html และนิตยสารชีวจิตฉบับที่ 199

วันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559

โรคไข้หวัดใหญ่ (Seasonal Influenza)

ความรู้เกี่ยวกับไข้หวัดใหญ่

          ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ (H1N1)หรือไข้หวัดใหญ่ 2009 เริ่มพบเมื่อปี พ.ศ. 2552 หรือ ค.ศ. 2009 ที่ประเทศเม็กซิโกและสหรัฐอเมริกา ต่อมาได้แพร่ออกไปยังอีกหลายประเทศทั่วโลก ปัจจุบันได้กลายเป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล(Seasonal Influenza)ที่พบปะปนกับสายพันธุ์ต่างๆ ทั่วไป ซึ่งมักพบมากในช่วงฤดูหนาว
           จากข้อมูลเฝ้าระวังโรคจากทุกจังหวัดในประเทศไทย ของสำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุขตั้งแต่ 1 มกราคม – 10 ตุลาคม พ.ศ. 2559 พบผู้ป่วย 115,978 ราย มีผู้เสียชีวิต 22 ราย จังหวัดที่มีอัตราป่วยต่อแสนประชากรสูงสุด 5 อันดับแรกคือ กรุงเทพมหานคร อุตรดิตถ์ เชียงใหม่ พะเยา ระยอง  

เชื้อสาเหตุ

เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza virus) โดยเชื้อไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล สามารถจำแนกออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่ ชนิดเอ บี และซี โดยที่พบมากที่สุด คือ ไข้หวัดใหญ่ ชนิดเอ (H1N1) (H3N2) รองลงมาได้แก่ ชนิด บี และซี

การแพร่ติดต่อ

เชื้อไวรัสที่อยู่ในเสมหะ น้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหะของผู้ป่วย แพร่ติดต่อไปยังคนอื่น ๆ ได้ง่าย เช่น การไอหรือจามรดกัน หรือหายใจเอาฝอยละอองเข้าไป หากอยู่ใกล้ผู้ป่วยในระยะ 1 เมตร บางรายได้รับเชื้อทางอ้อมผ่านทางมือหรือสิ่งของเครื่องใช้ที่ปนเปื้อนเชื้อ เช่น แก้วน้ำ ลูกบิดประตู โทรศัพท์ ผ้าเช็ดมือ เป็นต้น เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางจมูก ตา ปาก
ในผู้ใหญ่อาจแพร่เชื้อได้นานประมาณ 3-5 วัน นับจากเริ่มป่วย ในเด็กเล็กสามารถแพร่ได้นานกว่าผู้ใหญ่ อาจพบได้ 7-10 วัน และอาจนานขึ้นไปอีก ในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องอย่างรุนแรง

อาการป่วย

มักจะเกิดขึ้นทันทีทันใดด้วยอาการไข้สูง ตัวร้อน หนาว ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อมาก โดยเฉพาะที่หลัง ต้นแขน ต้นขา ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คัดจมูก มีน้ำมูกใสๆ ไอแห้งๆ โดยในเด็กอาจพบอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วงได้มากกว่าผู้ใหญ่ ส่วนอาการคัดจมูก จาม เจ็บคอ พบเป็นบางครั้งในไข้หวัดใหญ่ แต่จะพบในไข้หวัดมากกว่า
ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง หายป่วยได้โดยไม่ต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล อาการจะทุเลาและหายป่วยภายใน 5 – 7 วัน แต่บางรายที่มีอาการปอดอักเสบ รุนแรง จะพบอาการหายใจเร็ว เหนื่อย หอบ หายใจลำบาก ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้

การรักษา

โรคไข้หวัดใหญ่สามารถรักษาได้ ซึ่งโดยมากเป็นการรักษาตามอาการ แต่ในรายที่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ เช่น ในกลุ่มเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรง แพทย์จะมีการพิจารณาให้ยาต้านไวรัสโรคไข้หวัดใหญ่ คือ ยาโอลเซลทามิเวียร์ (oseltamivir)  ทั้งนี้ในกลุ่มเสี่ยงป่วยรุนแรง หากมีอาการสงสัยไข้หวัดใหญ่ เช่น เป็นไข้ ปวดเมื่อยตามตัว เจ็บคอ ไอ มีน้ำมูก ให้รีบมาพบแพทย์เข้ารับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ ส่วนบุคคลทั่วไปหากมีอาการป่วยและอาการไม่ดีขึ้นใน 2 วัน ให้รีบพบแพทย์เพื่อรับการรักษา
ผู้ป่วยที่มีอาการเล็กน้อย เช่น มีไข้ต่ำ ๆ และยังรับประทานอาหารได้ อาจไปพบแพทย์ หรือขอรับยาและคำแนะนำจากเภสัชกรใกล้บ้าน และดูแลรักษากันเองที่บ้านได้ ดังนี้
  • นอนหลับพักผ่อนมาก ๆ ในห้องที่อากาศถ่ายเทดี ไม่ควรออกกำลังกาย
  • ให้ดื่มน้ำเกลือแร่ น้ำผลไม้ มากๆ งดดื่มน้ำเย็น
  • รักษาตามอาการ หากมีไข้ให้ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัว หากไข้ไม่ลดให้รับประทานยาลดไข้ เช่น พาราเซตามอล ห้ามใช้ยาแอสไพริน หากทานยาแล้วอาการไม่ดีขึ้น ภายใน 2 วัน ควรรีบพบแพทย์
  • พยายามรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ไข่ ผัก ผลไม้ เป็นต้น
 


                        http://beid.ddc.moph.go.th/beid_2014/th/diseases/253

วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2559

เตือน 6 โรคที่มากับหน้าฝน


                   โรคหน้าฝน 6 โรคฮิตที่พบได้บ่อย ๆ ในช่วงหน้าฝนนี้ คือ โรคจากไวรัส คอติดเชื้อ ฉี่หนู อาหารเป็นพิษ ผิวหนังอักเสบ ไข้เลือดออก แพทย์แนะกินผัดผักบุ้ง แกงส้มมะละกอ น้ำเสาวรส ปรับสมดุลสุขภาพ


ขอบคุณข้อมูลจาก  http://phuchiangta.com/news_show.php?id_news=22