วันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

คำถามที่พบบ่อย เรื่องมะเร็งเต้านม

         


1. ผู้หญิงอายุเท่าไหร่จึงควรจะเริ่มทำแมมโมแกรม (Mammogram)
ตอบ แนะนำว่าให้เริ่มทำเมื่ออายุ 35 ปี และทำอีกทุก 2-3 ปี จนเมื่ออายุ 40 ปี แล้วให้ ทำทุกปี และอายุ 50 ปีขึ้นไป ให้ทำทุก 1-2 ปี เพราะจากสถิติผู้ป่วยมะเร็งเต้านม เริ่มพบ มากตั้งแต่อายุ 35 ปีขึ้นไป
2. อาการเจ็บเต้านม เกิดจากมะเร็งเต้านมใช่หรือไม่
ตอบ มะเร็งเต้านมระยะเริ่มต้นไม่มีอาการเจ็บ แต่แนะนำให้พบแพทย์ถ้ามีอาการเจ็บเต้านม โดยเฉพาะคลำก้อนได้
3. การใส่เสื้อยกทรงที่มีขอบโลหะเสริมจะทำให้เกิดมะเร็งเต้านมหรือไม่
ตอบ ไม่เกี่ยวข้องกัน ในสหรัฐอเมริกาก็มีการยืนยันเรื่องนี้เช่นกัน
4. ถ้ามีก้อนเนื้อเล็กๆ ที่เต้านม แพทย์ตรวจแล้วบอกว่าเป็นก้อนเนื้องอก ชนิดธรรมดา ควรทำอย่างไร
ตอบ ถ้าได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทาง การแพทย์แล้วก็ให้เชื่อตามนั้น แต่ต้องตรวจด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอ ถ้าพบความ เปลี่ยนแปลงต้องพบแพทย์ เพื่อรับการวินิจฉัยโดยละเอียดอีกครั้ง
5. ถ้าผ่าตัดเต้านมจากการเป็นมะเร็งเต้านมไปแล้วข้างหนึ่ง จะมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมอีกข้างหนึ่งหรือไม่
ตอบ มีโอกาสเป็นได้ จึงควรทำการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ทุกเดือน และตรวจด้วย Mammogram เป็นประจำทุกปี
6. ผู้หญิงที่ถูกสามีจับเต้านมบ่อยๆ จะทำให้เกิดมะเร็งเต้านมหรือไม่
ตอบ การถูกจับบ่อยๆ หรือมีการเจ็บหรือถูกกระแทกอย่างแรง ไม่ทำให้เกิดมะเร็งเต้านม
7. การมีนํ้าหรือของเหลวไหลออกจากหัวนมเป็นอาการอย่างหนึ่งของมะเร็งเต้านมหรือไม่
ตอบ อาจใช่หรือไม่ใช่ก็ได้ แต่ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง
8. ทานยาคุมกำเนิดชนิดหนึ่งแล้วเปลี่ยนเป็นอีกชนิดหนึ่ง การเปลี่ยนชนิด ของยาคุมกำเนิด ทำให้เกิดมะเร็งเต้านมหรือไม่
ตอบ ขึ้นอยู่กับชนิดของยาและระยะเวลาที่กิน แต่ถ้าเป็นมะเร็งเต้านมอยู่แล้ว อาจทำให้โต เร็วขึ้น
9. อาการคันหัวนมเกิดจากสาเหตุอะไร
ตอบ อาการคันหัวนมเป็นสาเหตุหนึ่งที่เกิดจากการติดเชื้อ การแพ้หรืออาจจะเกิดจากมะเร็ง ได้ด้วย ในกรณีหัวนมเปลี่ยนสี และมีแผลร่วมด้วยให้รีบปรึกษาแพทย
10. มะเร็งเต้านมพบในหญิงอายุน้อยที่สุด และอายุมากที่สุดเท่าไร
ตอบ พบในผู้หญิงอายุน้อยที่สุด 15 ปี (เท่าาที่พบจากรายงาน) และพบในหญิงอายุมากที่สุด 90 ปี
11. มะเร็งเต้านมพบได้มากในช่วงอายุเท่าไร
ตอบ จากสถิติของศูนย์ถันยรักษ์จะพบมากในช่วงอายุ 40-49 ปี = 41% อายุต่ำกว่า 39 ปี มี 18.6%
12. การบีบเต้านมขณะที่เอกซเรย์เต้านม (Mammogram) จะทำให้ก้อนที่มีอยู่ในเต้านมนั้น แตกหรือไม่
ตอบ ไม่แตก มีบทความงานวิจัยจากต่างประเทศยืนยันได้
13. อาการของมะเร็งเต้านมในระยะแรกมีอาการอย่างไรบ้าง
ตอบ ระยะแรกไม่มีอาการ คลำก้อนไม่ได้ หากคลำก้อนได้ ถ้าตรวจแล้วเป็นมะเร็งจริง
แสดงว่าเป็นมาประมาณ 2-3 ปีแล้ว
14. ถ้าคลำพบก้อนในเต้านมและแพทย์บอกว่าเป็นถุงนํ้า ถ้าไม่เจาะเอานํ้าออกจะมีอันตรายหรือไม่
ตอบ ถ้าเป็นถุงนํ้าไม่ต้องทำอะไร แต่จะเจาะเอานํ้าออกในกรณีที่รู้สึกเจ็บหรือผู้มาตรวจรำคาญ
15. หินปูนที่พบในเต้านมเกิดจากการรับประทานอาหาร หรือยาที่มีแคลเซียมมากเกินไปใช่หรือไม่
ตอบ หินปูนไม่เกี่ยวกับการรับประทานอาหาร แต่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของเนื้อใน เต้านมเอง
16. ถ้าเป็นมะเร็งเต้านมการรักษาต้องตัดเต้านมออกหมดเสมอไปหรือไม่
ตอบ ไม่จำเป็นต้องตัดเต้านมออกหมด ถ้าพบมะเร็งที่ขนาดเล็ก หรือคลำไม่ได้ (ซึ่งพบได้ โดยตรวจ Mammogram เท่านั้น) ก็ตัดเฉพาะก้อนเนื้อร้ายออก ถ้ายังไม่กระจายไปต่อมนํ้าเหลือง ก็ไม่ต้องรักษาอะไรเพิ่ม ทั้งนี้แพทย์จะดำเนินการตามขั้นตอน

ขอบคุณเนื้อหาจาก
คู่มือการอบรมอาสาสมัครสาธารณสุข
ในการดูแลและเฝ้าระวังสตรีไทยจากมะเร็งเต้านม

วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

โรคขาดสารไอโอดีน


สารไอโอดีนคืออะไร
      สารไอโอดีน เป็นธาตุเคมีที่เกิดขึ้นเองในธรรมชาติแต่ไม่สม่ำเสมอ และมีมากน้อยแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ พบมากในดินและแถบที่ราบลุ่มแม่น้ำ ชายทะเล และทะเลซึ่งเป็นผลให้พืชผักและสัตว์จากทะเลมีสารไอโอดีนมากด้วย
ประโยชน์ของสารไอโอดีน
      สารไอโอดีนเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย ใช้ในการสร้างฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์ ซึ่งฮอร์โมนนี้จะเข้าสู่กระแสเลือดทำหน้าที่ควบคุมอวัยวะต่างของร่างกายให้ดำเนินไปอย่างปกติ โดยกระตุ้นให้เกิดการเจริญเติบโตและพัฒนาการของร่างกายโดยเฉพาะระบบสมองและประสาท นอกจากนี้ยังมีผลต่อการสร้างโปรตีนของกล้ามเนื้อของร่างกาย และมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงและเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต ไขมันและวิตามินอีกด้วย
ความต้องการสารไอโอดีน
  • ในคนปกติต้องการประมาณวันละ 150-200 ไมโครกรัม
  • หญิงตั้งครรภ์หญิงให้นมบุตร ต้องการประมาณวันละ 175-200 ไมโครกรัม
  • เด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือนต้องการวันละ 40-90 ไมโครกรัม
แหล่งอาหารที่มีสารไอโอดีน
ที่เหมาะสมที่สุดคือ อาหารที่มาจากทะเลทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์ เช่น

  • ปลาทะเล 100 กรัม มีสารไอโอดีนประมาณ 50 ไมโครกรัม
  • สาหร่ายทะเล 100 กรัม มีสารไอโอดีนประมาณ 200 ไมโครกรัม

  • โรคขาดสารไอโอดีน
         โรคขาดสารไอโอดีน หมายถึงภาวะร่างกายได้รับสารไอโอดีนไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายเป็นประจำ ซึ่งมีผลต่อการสร้างธัยรอยด์ฮอร์โมนทำให้เกิดการเสียสมดุลย์ในการควบคุมการทำงานของต่อมไทรอยด์
    ผลกระทบจากการขาดสารไอโอดีน
    1. คอพอก (Goitre) ถ้าโตมากๆจะไม่สวย กดหลอดลมทำให้หายใจลำบาก ไอ สำลักถ้ากดหลอดอาหารจะกลืนลำบาก
    2. ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมน ต่ำ (Hypothyroidism) ร่างกายมีธัยรอยด์ฮอร์โมนไม่เพียงพอ ทำให้มีอัตราการเผาผลาญอาหารลดลง การนำสารอาหารไปใช้ในการเสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกายไม่เต็มที่ ทำให้การเจริญเติบโตของร่างกายหยุดชะงักหรือเติบโตช้าได้
      - ในผู้ใหญ่มีอาการเกียจคร้าน อ่อนเพลีย เชื่องช้า ง่วงซึม ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ผิวหนังแห้ง ท้องผูก เสียงแหบ ทนความหนาวเย็นไม่ค่อยได้
      - ในเด็กนอกจากอาการที่กล่าวมาแล้ว ยังพบอาการเชื่องช้าทาจิตใจและเชาว์ปัญญาด้วย
      - ในทารกแรกเกิด มีความสำคัญ และรุนแรงมาก จะมีอาการทางสมองทำให้เกิดภาวะปัญญาอ่อน ไม่สามารถแก้ไขได้เรียกว่า "ภาวะธัยรอยด์ฮอร์โมนต่ำในทารกแรกเกิด"
    3. โรคเอ๋อ หรือ คริตินนิซึม (Critinnism) แม่ที่ขาดไอโอดีนในระหว่างตั้งครรภ์ ลูกที่ออกมาจะมีภาวะธัยรอยด์ฮอร์โมนต่ำตั้งแต่แรกเิกิด ถ้าแม่มีการขาดไอโอดีน รุนแรงอาจทำให้ทารกตายได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์หรือพิการแต่กำเนิด แม่ที่ได้รับสารไอโอดีนน้อยกว่า 20 ไมโครกรัมต่อวันจะพบว่าทารกที่คลอดออกมาเป็นโรค "เอ๋อ" ซึ่งจะแสดงอาการผิดปกติทางร่างกายติดต่อไปจนเป็นผู้ใหญ่มี 2 ลักษณะ
      1. มีความผิดปกติทางระบบประสาทเด่นชัด (Neurological cretinnism) จะมีสติปัญญาต่ำรุนแรง  หูหนวกเป็นใบ ท่าเดินผิดปกติ ตาเหล่ กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน
      2. เตี้ยแคระแกรน (Myxedematous) เจริญเติบโตช้า สติปัญญาต่ำมากผิวหนังแห้งหนา บวม กดไม่บุ๋ม เคลื่อนไหวช้า หูไม่หนวก ไม่เป็นใบ้ โดยทั่วไปต่อมธัยรอยด์ไม่โต
      ผลกระทบจากการขาดสารไอโอดีนในร่างกาย อาจจะไม่ได้เกิดอาการ ครบหมดทุกอย่าง อย่างไรก็ตามในพื้นที่ที่มีการขาดรุนแรงกว้างขวาง จะพบเห็นผู้ที่มีอาการผิดปกติจำนวนมาก

    คำแนะนำในการรับประทานไอโอดีน
    • ไอโอดีน ในรูปของอาหารเสริม โดยทั่วไปมักพบได้ในรูปของ วิตามินรวมและแร่ธาตุรวม โดยจะมีปริมาณประมาณ 150 ไมโครกรัม โดยสาหร่ายธรรมชาติเป็นแหล่งของไอโอดีนเสริมอาหารที่ดีที่สุด
    • ขนาดที่แนะนำให้รับประทานต่อวันสำหรับผู้ใหญ่คือ 150 ไมโครกรัม และสำหรับหญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรประมาณ 175 – 200 ไมโครกรัม
    • การรับประทานไอโอดีนวันละ 50 ไมโครกรัม ก็สามารถช่วยป้องกันโรคคอพอได้แล้ว
    • สำหรับผู้ที่รับประทานกะหล่ำปลีดิบในปริมาณมาก สารบางอย่างในกะหล่ำปลีดิบอาจทำให้ร่างกายไม่สามารถดูดซึมแร่ธาตุไอโอดีนได้ ดังนั้น ควรหาอาหารเสริมที่อยู่ในรูปของวิตามินรวมและแร่ธาตุรวมมารับประทานเสริม
    • สำหรับผู้ที่รับประทานวิตามินรวมและแร่ธาตุรวมเป็นประจำอยู่แล้ว ไม่ควรรับประทานไอโอดีนเสริมในรูปแบบอื่นๆอีก
    • สำหรับผู้ที่รับประทานอาหารทะเลเป็นประจำอยู่แล้ว ก็ไม่ควรรับประทานไอโอดีนเสริมอีก
    • สำหรับหญิงตั้งครรภ์ควรได้รับไอโอดีนอย่างเพียงพอ เพื่อลดความเสี่ยงจากการพิการหรือปัญญาอ่อนของทารกในครรภ์
    • สำหรับทารกแรกเกิดก็ควรได้รับไอโอดีนอย่างเพียงพอเช่นกัน เพราะจะช่วยให้เด็กมีความเฉลียวฉลาด และช่วยในการเจริญเติบโตของทารกแรกเกิด
    • เนื่องจากไอโอดีนมีความสำคัญมากกับทุกเพศทุกวัย ก็ควรจะได้รับอย่างเพียงพอ
    • เด็กในวัยเจริญเติบโต หากขาดไอโอดีนระดับไอคิวอาจต่ำลงหรือบกพร่องได้
    ประโยชน์ของไอโอดีน
    1. ช่วยพัฒนาสมองควบคุมระบบประสาท ทำให้ความคิดความอ่านไวขึ้น
    2. ช่วยในการควบคุมน้ำหนักตัว โดยการเผลาผลาญไขมันส่วนเกิน
    3. ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของร่างกาย
    4. ช่วยทำให้ร่างกายมีพลังงาน เพิ่มความกระตือรือร้นได้
    5. ช่วยบำรุงสุขภาพเส้ยผม เล็บ ผิวพรรณ และฟัน ให้มีความแข็งแรง
    6. ช่วยกระตุ้นการทำงานของหัวใจให้ดีขึ้น
    7. ช่วยกระตุ้นให้มีการหลั่งน้ำนมของมารดาให้มากขึ้น
    8. ช่วยในการขับถ่ายปัสสาวะ ควบคุมการกระจายตัวของน้ำตามร่างกาย
    9. ป้องกันไม่ให้เด็กพิการ หญิงแท้งบุตรง่าย และอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศในผู้ชาย

    แหล่งอ้างอิง : หนังสือวิตามินไบเบิล (ดร.เอิร์ล มินเดลล์)
    สรุปอาการแสดงของโรคขาดสารไอโอดีน ตลอดช่วงชีวิตมนุษย์
     ระยะของชีวิตอาการแสดงทางคลินิคและผลกระทบที่เกิดขึ้น
     ตัวอ่อนในครรภ์แท้ง หรือ ตายตั้งแต่อยู่ในครรภ์ / เพิ่มอัตราป่วยและอัตราตายในทารกช่วงอายุ 28 สัปดาห์ในครรภ์ จนถึง 28 วันแรกหลังคลอด / ปัญญาอ่อนอย่างถาวร (โรคเอ๋อ) / เชาว์ปัญญาลดลง สูญเสียการได้ยิน และมีความผิดปกติทางระบบประสาทและการเคลื่อนไหว
     
      ทารกแรกเกิด - 2 ปี คอพอก / ไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ / เชาว์ปัญญาลดลง สูญเสียการได้ยิน และมีความผิดปกติทางระบบประสาทและการเคลื่อนไหว
        เด็กคอพอก / ไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ / ตัวเตี้ย แคระแกร็น สติปัญญาพัฒนาเชื่องช้า
        ผู้ใหญ่คอพอก / ไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำและมีภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ จากที่มีไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ มีอาการเกียจคร้าน เชื่องช้า ง่วงซึม ผิวหนังแห้ง ทนความหนาวเย็นไม่ค่อยได้ เสียงแหบ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ท้องผูก