วันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2556

รู้หรือไม่? วัคซีนจำเป็นสำหรับผู้ใหญ่


วัคซีน คือสิ่งสำคัญในการสร้างภูมิคุ้มกันของทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งคนส่วนใหญ่จะเข้าใจว่า การฉีดวัคซีนเป็นเรื่องของเด็ก และในตอนเยาว์วัยฉีดวัคซีนครบแล้ว โตขึ้นก็ไม่มีความจำเป็นต้องฉีดอีก เพราะร่างกายมีภูมิคุ้มกันโรคที่เคยฉีดไว้แล้ว แต่แท้จริงแล้วมิได้เป็นเช่นนั้น เพราะวัคซีนบางชนิดไม่ได้มีประสิทธิภาพป้องกันโรคตลอดชีวิต และยังอาจเสื่อมลงไปตามอายุที่มากขึ้น

คุณทราบหรือไม่? วัคซีนจำเป็นสำหรับผู้ใหญ่
การฉีดวัคซีน  เป็นการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคที่มีประสิทธิภาพสูงและมีความคุ้มค่า ปัจจุบันมีวัคซีนหลายชนิดที่ผลิตขึ้นเพื่อป้องกันโรคในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ  เพราะภูมิคุ้มกันของร่างกายจากการที่เคยได้รับวัคซีนในวัยเด็กจะลดลงเรื่อย ๆ ซึ่งภูมิคุ้มกันที่ลดลงจะไม่เพียงพอและส่งผลให้เกิดความเสี่ยงในการติดเชื้อและเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคไข้หวัดใหญ่, โรคนิวโมคอคคัส, โรคคอตีบ,โรคไอกรน,โรคบาดทะยัก, โรคมะเร็งปากมดลูกและไวรัสตับอักเสบบี รวมถึงโรคแทรกซ้อนและผลกระทบอื่นๆ ที่ตามมา  ดังนั้น ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุจึงมีความจำเป็นที่ต้องได้รับการดูแลสุขภาพ โดยการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายด้วยวัคซีนเช่นเดียวกัน
โดยในประเทศไทยเรานั้น ทางราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ได้ออกคำแนะนำแนวทางการให้วัคซีนเพื่อป้องกันโรคสำหรับผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ (Recommendation Adult and Elderly Immunization Schedule) พ.ศ.2555  โดยแนะนำให้ผู้ใหญ่เข้ารับการฉีดวัคซีน เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายอย่างสม่ำเสมอ ด้วยเหตุผลที่ว่าการฉีดวัคซีนเป็นวิธีที่ดีที่สุด

ที่นอกจากจะช่วยป้องกันสุขภาพของคนที่อยู่ในวัยผู้ใหญ่แล้ว ในระยะยาวยังช่วยป้องกันไม่ให้เด็กวัยรุ่น และผู้สูงอายุที่อยู่ในครอบครัวเดียวกันเจ็บป่วยจากโรคภัยต่างๆ ด้วย เนื่องจากช่วงวัย, โรคประจำตัว, สิ่งแวดล้อมที่ต่างกันย่อมส่งผลให้ความต้องการการได้รับวัคซีนแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคลด้วย ดังนี้
ช่วงอายุ
วัคซีนป้องกันโรคที่แนะนำให้ฉีด
หมายเหตุ
วัคซีนจำเป็นอื่นๆ*
ผู้ใหญ่ช่วงต้น
(อายุ 18 – 26 ปี)
-วัคซีนบาดทะยักและคอตีบ-ฉีดกระตุ้นทุก 10 ปี -วัคซีนอีสุกอีใส
-วัคซีนตับอักเสบเอ
-วัคซีนไข้กาฬหลังแอ่น
- วัคซีนไข้หวัดใหญ่ - ฉีดกระตุ้นทุก 1 ปี
- วัคซีนหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน - ฉีด 1 เข็ม
-วัคซีนเอชพีวี -ควรฉีดตั้งแต่วัยรุ่นตอนต้น (การฉีดวัคซีนไม่สามารถทดแทนการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก)
- วัคซีนตับอักเสบบี-ควรตรวจภูมิคุ้มกันก่อนฉีดวัคซีน
ผู้ใหญ่
(อายุ 27 – 65 ปี)
-วัคซีนบาดทะยักและคอตีบ-ฉีดกระตุ้นทุก 10 ปี -วัคซีนอีสุกอีใส
-วัคซีนตับอักเสบเอ
-วัคซีนไข้กาฬหลังแอ่น
- วัคซีนไข้หวัดใหญ่ - ฉีดกระตุ้นทุก 1 ปี
- วัคซีนตับอักเสบบี-ควรตรวจภูมิคุ้มกันก่อนฉีดวัคซีน
ผู้สูงอายุ
(อายุมากกว่า 65 ปี)
-วัคซีนบาดทะยักและคอตีบ-ฉีดกระตุ้นทุก 10 ปี -วัคซีนอีสุกอีใส
-วัคซีนตับอักเสบเอ
-วัคซีนไข้กาฬหลังแอ่น                  
-วัคซีนงูสวัด
- วัคซีนไข้หวัดใหญ่ - ฉีดกระตุ้นทุก 1 ปี
-วัคซีนป้องกันนิวโมคอคคัส 
ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง (ไม่มีม้าม หัวใจวาย ปอดอุดกั้นเรื้อรัง ไตวายเรื้อรัง ตับวาย ติดเชื้อเอดส์ รับยากดภูมิคุ้มกัน)
- วัคซีนไข้หวัดใหญ่ - ฉีดกระตุ้นทุก 1 ปีหรือตามคำแนะนำของแพทย์  
- วัคซีนตับอักเสบบี-ควรตรวจภูมิคุ้มกันก่อนฉีดวัคซีน
-วัคซีนป้องกันนิวโมคอคคัส 
 

วันพุธที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2556

บริหารมือ

 

 

 “ มือ ” ถือได้ว่าเป็นอวัยวะสำคัญที่ต้องมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะหยิบจับสิ่งของ หรือใช้งานในกิจกรรมอื่นๆ ทั้งเด็กที่จะต้องใช้มือในการเขียนหนังสือ ผู้ใหญ่คนทำงานที่ต้องใช้มือกับแป้นพิมพ์ เขียนงานเอกสาร หรือใช้ในงานด้านต่างๆ ตลอดจนแม่บ้านที่ทำงานบ้าน ซักผ้าบิดผ้า หิ้วถุงจ่ายตลาด
 
ภาวะนิ้วล็อค  เป็นกลุ่มอาการหนึ่งที่เกิดกลุ่มคนที่ใช้มือในการทำงานอย่างหนัก ก็จะพบว่ามีอาการเจ็บและมีเสียงดังกึก ทำให้เส้นเอ็นไม่โก่งตัวออกเมื่องอนิ้ว แต่เมื่อมีการอักเสบเส้นเอ็นจะบวมและหนาตัว ทำให้ลอดผ่านห่วงลำบาก จึงรู้สึกเจ็บและเกิดอาการนิ้วล็อคตามมา ส่วนใหญ่จะพบในผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะแม่บ้าน ส่วนในผู้ชายมักจะพบในผู้ที่มีอาชีพที่ต้องใช้มือหนักๆ เช่น พนักงานพิมพ์ดีด นักกอล์ฟ
 
โดยส่วนใหญ่เกิดในผู้หญิงอายุ 45 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะแม่บ้านที่ใช้มือทำงานอย่างหนัก เช่น หิ้วตะกร้าจ่ายกับข้าว ชอปปิ้ง บิดผ้า ส่วนในผู้ชายมักพบในอาชีพที่ใช้มือทำงานหนักๆ มีการจับ ออกแรงบีบอุปกรณ์ซ้ำๆ เช่น คนทำสวนใช้กรรไกรตัดกิ่งไม้ ช่างที่ใช้ไขควงหรือเลื่อย พนักงานพิมพ์ดีด นักกอล์ฟ ช่างงานฝีมือ นักยูโด และหมอนวดแผนโบราณเป็นต้น
 
ในแต่ละกิจกรรมจะใช้งานแต่ละนิ้วไม่เหมือนกัน จึงทำให้เกิดนิ้วล็อคที่ตำแหน่งนิ้วต่างกันด้วย เช่น อาชีพครู หรือนักบริหาร มักเป็นนิ้วล็อคที่นิ้วโป้งขวา เพราะใช้เขียนหนังสือมาก และใช้นิ้วโป้งกดปากกานานๆ ส่วนแม่บ้านซักบิดผ้า มักเป็นที่นิ้วชี้ซ้ายและขวา แต่ทั้งนี้ภาวะดังกล่าวไม่มีอันตรายใดๆ เพียงแต่ให้ความรู้สึกเจ็บปวด และใช้มือได้ไม่ถนัด เป็นโรคที่สามารถป้องกัน และรักษาให้หายได้ ถ้ารู้จักวิธีดูแลตนเองอย่างถูกต้อง
 
ในระยะแรกจะมีอาการปวดบริเวณโคนนิ้วมือ กำมือไม่ถนัด หรือกำได้ไม่เต็มที่โดยเฉพาะตอนเช้าหลังตื่นนอน พอใช้มือไปสักพักก็จะกำมือได้ดีขึ้น เวลางอที่จะเหยียดนิ้วมือมักจะได้ยินเสียงดังกึก ต่อมาจะมีอาการนิ้วล็อค คือ เวลางอนิ้วจะเหยียดขึ้นเองไม่ได้ มักเกิดกับมือข้างถนัดที่ใช้งาน ซึ่งอาจเป็นเพียงนิ้วเดียว หรือเป็นพร้อมกันหลายนิ้วก็ได้ บางรายอาจรุนแรงถึงนิ้วบวมชา ติดแข็งจนใช้งานไม่ได้
 
       วิธีทำกายภาพมือแบบง่ายๆ ก่อนจะเป็นนิ้วล็อคถาวร
 
1. ยืดกล้ามเนื้อแขน มือ นิ้วมือ โดยยกแขนระดับไหล่ ใช้มือข้างหนึ่งดันให้ข้อมือกระดกขึ้น-ลง ปลายนิ้วเหยียดตรงค้างไว้ นับ 1-10 แล้วปล่อยทำ 6-10 ครั้ง/เซต
 
2. บริหารการกำ-แบมือ โดยฝึกกำ-แบ เพื่อเพิ่มการเคลื่อนไหวของข้อนิ้วมือ และกำลังกล้ามเนื้อภายในมือ หรืออาจถือลูกบอลในฝ่ามือก็ได้ โดยทำ 6-10 ครั้ง/เซต
 
3. ท่าเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อที่ใช้งอ-เหยียดนิ้วมือ โดยใช้ยางยืดช่วยต้าน แล้วใช้นิ้วมือเหยียดอ้านิ้วออก ค้างไว้ นับ 1-10 แล้วค่อยๆ ปล่อย ทำ 6-10 ครั้ง/เซต
 
       วิธีลดความเสี่ยงการเป็นนิ้วล็อค
 
1. ไม่หิ้วของหนักเกินไป ถ้าจำเป็นต้องหิ้วให้ใช้ผ้าขนหนูรอง และหิ้วให้น้ำหนักตกที่ฝ่ามือ อาจใช้วิธีการอุ้มประคองหรือรถเข็นลากแทน เพื่อลดการรับน้ำหนักที่นิ้วมือ
 
2. ควร ใส่ถุงมือ หรือห่อหุ้มด้ามจับเครื่องมือให้นุ่มขึ้นและจัดทำขนาดที่จับเหมาะแก่การใช้งาน ขณะใช้เครื่องมือทุ่นแรง เช่น ไขควง เลื่อย ค้อน ฯลฯ
 
3. งานที่ต้องใช้เวลาทำงานนานต่อเนื่อง ทำให้มือเมื่อยล้า หรือระบม ควรพักมือเป็นระยะๆ และออกกำลังกายยืดกล้ามเนื้อมือบ้าง
 
4. ไม่ขยับนิ้วหรือดีดนิ้วเล่น เพราะจะทำให้เส้นเอ็นอักเสบมากยิ่งขึ้น
 
5. ถ้ามีข้อฝืดตอนเช้า หรือมือเมื่อยล้า ให้แช่น้ำอุ่นร่วมกับการขยับมือกำแบเบา ๆ ในน้ำ จะทำให้ข้อฝืดลดลง